Change Language :
  • บริการวิเคราะห์ตัวอย่างอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องอย่างฉับไวและได้มาตรฐาน
  • เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย
  • ทีมงานและผู้เชี่ยวชาญจากภาควิชาต่าง ๆ ของคณะวิทยาศาตร์และจากหน่วยงานต่างประเทศที่มีความร่วมมือทางวิชาการกับคณะวิทยาศาสตร์
    การวิเคราะห์ทางเคมี
  • องค์ประกอบของอาหาร (Proximate analysis)
  • ฉลากโภชนาการ (Nutrition labeling)
  • วิตามิน (Vitamins)
  • โลหะหนัก (Heavy metals)
  • สารเจือปนอาหาร (Food additives) เช่น สารกันบูด สารแต่งกลิ่นสี
  • สารปนเปื้อน (Food contaminants) เช่น
    • สารฆ่าแมลงตกค้าง (Pesticide residues)
    • สารออกฤทธิ์ทางยาตกค้าง (Drug residues) เช่น ยาปฎิชีวนะ มาลาไคต์กรีน ไนโตรฟูแรน และแมทาบอไลต์ ฯลฯ
    • สารพิษจากเชื้อราและจุลินทรีย์
    • เมลามีนและอะนาลอกของเมลามีน
    การวิเคราะห์ทางชีววิทยาโมเลกุล
  • ตรวจสอบการดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs)
  • ตรวจชนิดและปริมาณเนื้อสัตว์ (Meat species and authenticity)
  • ตรวจสอบทางชีววิทยาโมเลกุล
  • ทดสอบทางเซรุ่มวิิทยา
    การวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา
  • ตรวจนับจุลินทรีย์ทั้งหมด (Total plate count)
  • ตรวจหาเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค เช่น Salmonella spp. E. coli, Enterobacter sakazakii
  • ตรวจหาเชื้อจุลินทรีย์ที่ทนอุณหภูมิสูง
    การวิเคราะห์ทางกายภาพ
  • วิเคราะห์หา water activity
  • การหาอายุของผลิตภัณฑ์อาหาร
    ตัวอย่างที่รับทดสอบ
  • อาหาร และผลิตภัณฑ์บริโภค ภายในประเทศ ได้แก่ อาหารที่กำหนด ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข และอาหารทั่วไปที่ต้องการทราบเกี่ยวกับ สารปนเปื้อน สารเจือปน และสารตกค้างจากเคมีกำจัดศัตรูพืชต่าง ๆ องค์ประกอบของอาหาร ฉลากโภชนาการ วิตามิน โลหะหนัก เป็นต้น
  • อาหารที่ต้องการตรวจหาสาเหตุการเกิดโรคระบาดหรือเชื้อโรคอาหารเป็นพิษทางจุลชีววิทยา
  • อาหารที่ต้องการตรวจสอบการดัดแปลงทางพันธุกรรม
    ข้อแนะนำในการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งทดสอบ
  • ปริมาณตัวอย่างที่ส่งทดสอบ
    • กรณีทดสอบ 1-3 รายการ ปริมาณตัวอย่าง มากกว่าหรือเท่ากับ 100 กรัม
    • กรณีทดสอบมากกว่าหรือเท่ากับ 4 รายการ ปริมาณตัวอย่าง มากกว่าหรือเท่ากับ 1,000 กรัม
    • กรณีทดสอบฉลากโภชนาการ ปริมาณตัวอย่าง มากกว่าหรือเท่ากับหน่วยภาชนะบรรจุ หรือ เทียบเท่าน้ำหนัก มากกว่าหรือเท่ากับ 2,000 กรัม
  • ไม่ควรเก็บตัวอย่างในที่มีความชื้นสูง หรือความร้อนสูงเกินไป
  • ควรเก็บตัวอย่างด้วยความรวดเร็ว และปิดฝาภาชนะบรรจุให้เร็วที่สุด
  • ภาชนะที่บรรจุตัวอย่างควรเป็นภาชนะที่สะอาดและสามารถป้องกันความชื้นเข้าสู่ ตัวอย่างได้ เช่น ขวดแก้วมีฝาปิดสนิท หรือถุงอะลูมิเนียมฟอยล์ซิล ปิดสนิท(ไม่ควรใช้ถุงพลาสติกมัดหนังยางหรือถุงซิปล๊อค)
  • ไม่เก็บตัวอย่างในที่มีแสงอัลตราไวโอเลต หรือรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวน
    การนำส่งตัวอย่าง เพื่อทดสอบ
  • ผู้ขอรับบริการควรนำตัวอย่างส่งโดยตรงที่ห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกรณีที่ต้องการตรวจ วิเคราะห์เพื่อประกอบการขออนุญาตขึ้นทะเบียนตำรับอาหารให้ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ส่วนสำนักงานก่อนส่งตัวอย่างทุกครั้ง
  • กรอกรายละเอียดลงในใบขอรับบริการ (F 031) และ แบบบันทึกการทบทวนข้อตกลงการบริการทดสอบ (F022)ให้ครบถ้วนชัดเจน
  • ส่งตัวอย่าง ได้ที่ส่วนสำนักงาน ห้องปฏิบัติการวิจัยและทดสอบอาหาร อาคารมหามกุฎ ชั้น 16 ในเวลา 08.00 -17.00 น. วันจันทร์ – ศุกร์
    การปฏิเสธตัวอย่าง

          ห้องปฏิบัติการฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธรับตัวอย่าง ในกรณีที่คิดว่าตัวอย่างอาจเสื่อมสภาพหรือมีการปนเปื้อนซึ่งจะทำให้ผลการ ตรวจ วิเคราะห์ผิดพลาด ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ผู้ขอรับบริการโปรดสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนการให้บริการของงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยทั่วไปห้องปฎิบัติการฯ จะปฏิเสธการรับตัวอย่าง ในกรณีดังต่อไปนี้

  • ตัวอย่างปริมาณน้อยกว่าที่กำหนด
  • ชื่อตัวอย่าง หรือ ฉลากภาชนะบรรจุ ลบเลือน ไม่ชัดเจน
  • ภาชนะบรรจุตัวอย่างรั่ว ซึม หรือ แตก
    การรายงานผลการตรวจ

          ห้องปฏิบัติการฯ มีการส่งรายงานผลทดสอบหลายรูปแบบ ดังนี้

  • ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
  • ผู้ขอรับบริการมารับด้วยตนเอง
  • ในกรณีเร่งด่วน ห้องปฏิบัติการฯ จะส่งรายงานผลทดสอบทางโทรสาร หรือ e-mail และจัดส่งรายงานฉบับจริงทางไปรษณีย์ จะให้บริการดูผลการตรวจวิเคราะห์ผ่านเว็บไซต์ในโอกาสต่อไป
    การขอแก้ไขรายงานผลการตรวจสอบ

          กรณีที่พบข้อผิดพลาดในรายงานผล พิมพ์ผิด ข้อความไม่ครบถ้วนอันเกิดจากความผิดพลาดของห้องปฏิบัติการ ให้ผู้ขอรับบริการติดต่อประสานงานได้ที่ ส่วนสำนักงาน โทร 02 -2187653-54 โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ยกเว้นความผิดพลาดดังกล่าวเกิดขึ้นจากผู้ขอรับบริการ ทางห้องปฏิบัติการฯขอสงวนสิทธิ์ในการ คิดค่าดำเนินการ

    การขอสำเนารายงานผลการตรวจสอบ

          ผู้ ใช้บริการสามารถขอสำเนารายงานผลทดสอบได้ โดยติดต่อประสานงานที่ส่วนสำนักงาน แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับตัวอย่าง วันที่ส่งตรวจ เลขที่หนังสือนำส่ง หรือ เลขที่รายงาน เพื่อให้สามารถสืบค้นสำเนาได้ถูกต้อง รวดเร็ว

    ข้อควรทราบ

          ห้องปฏิบัติการฯมีนโยบาย ในการรักษาข้อมูลอันเป็นความลับและสิทธิของลูกค้า รวมทั้งการป้องกันและรักษาข้อมูลทางอิเลคทรอนิกส์ และการส่งผ่านผล ห้องปฏิบัติการฯ จะทำการทบทวนคำขอบริการ (ครอบคลุมถึงงานจ้างเหมาช่วงด้วย)ทุกครั้ง และการทบทวนข้อสัญญาภายใต้ข้อตกลงและความต้องการของลูกค้าที่ไม่เปลี่ยนแปลง หากผู้ใช้บริการจำเป็นต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงหลังจากได้เริ่มงาน ไปแล้ว ต้องแจ้งให้ห้องปฏิบัติการฯ ทราบและต้องทำการทบทวนข้อตกลงซ้ำหรือจัดทำใหม่ ห้องปฏิบัติการฯ อาจมีการจ้างเหมาช่วงงานทดสอบในบางกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติการทดสอบได้ เช่น งานมีปริมาณมาก เครื่องมือหรืออุปกรณ์ชำรุด โดยที่ห้องปฏิบัติการรับเหมาช่วงงานทดสอบต้องเป็นห้องปฏิบัติการที่ได้รับ การรับรองความสามารถตามมาตรฐานและขอบข่ายเดียวกันกับงานที่รับเหมาช่วง หรือเป็นห้องปฏิบัติการที่มีการดำเนินงานที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และมีการดำเนินงานที่เชื่อถือได้ และที่ผ่านการประเมินตามเกณฑ์การประเมินทางวิชาการและระบบการบริหารงานที่ ห้องปฎิบัติการฯ กำหนดและดำเนินการ นอกจากการให้บริการตรวจทดสอบ แล้ว ห้องปฏิบัติการฯ ยังมีนโยบายในการให้คำปรึกษาแนะนำการให้บริการ และคำแนะนำทางด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องในงานทดสอบนั้นๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้บริการ