
อาหารเป็นปัจจัยหลักในการ และเป็นสินค้าส่งออกระดับต้น ๆ ของประเทศไทย มีมูลค่ากว่า 600,000 ล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุก ๆ ปี ด้วยภาวะการแข่งขันที่รุนแรง การกำหนดคุณภาพมาตรฐาน และความปลอดภัยของอาหารจึงเป็นปัจจัยหลักที่เป็นตัวแปลสำคัญและประเทศคู่ค้ามักนำไปใช้อ้างในการกีดกันทางการค้า การวิจัยและการทดสอบอาหารจะช่วยประกันสุขภาพและอนามัยของคนไทยโดยรวม ช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารของไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขันตลาดโลก ส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของประเทศ และสนับสนุนภาคเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร

- บริการวิเคราะห์ตัวอย่างอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องอย่างฉับไวและได้มาตรฐาน
- เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย
- ทีมงานและผู้เชี่ยวชาญจากภาควิชาต่าง ๆ ของคณะวิทยาศาตร์และจากหน่วยงานต่างประเทศที่มีความร่วมมือทางวิชาการกับคณะวิทยาศาสตร์
-
การวิเคราะห์ทางเคมี
- องค์ประกอบของอาหาร (Proximate analysis)
- ฉลากโภชนาการ (Nutrition labeling)
- วิตามิน (Vitamins)
- โลหะหนัก (Heavy metals)
- สารเจือปนอาหาร (Food additives) เช่น สารกันบูด สารแต่งกลิ่นสี
- สารปนเปื้อน (Food contaminants) เช่น
- สารฆ่าแมลงตกค้าง (Pesticide residues)
- สารออกฤทธิ์ทางยาตกค้าง (Drug residues) เช่น ยาปฎิชีวนะ มาลาไคต์กรีน ไนโตรฟูแรน และแมทาบอไลต์ ฯลฯ
- สารพิษจากเชื้อราและจุลินทรีย์
- เมลามีนและอะนาลอกของเมลามีน
-
การวิเคราะห์ทางชีววิทยาโมเลกุล
- ตรวจสอบการดัดแปลงพันธุกรรม (GMOs)
- ตรวจชนิดและปริมาณเนื้อสัตว์ (Meat species and authenticity)
- ตรวจสอบทางชีววิทยาโมเลกุล
- ทดสอบทางเซรุ่มวิิทยา