ไร่นาสวนผสมเศรษฐกิจแบบพอเพียง

     ในการเพาะปลูกแต่ละครั้ง ปัจจัยสำคัญที่นอกเหนือจาก เมล็ดพืช ปุ๋ย เงินทุน หรืออื่นๆ ก็คือ พื้นที่ในการเพาะปลูก ยิ่งถ้ามีความต้องการผลผลิตสูงเท่าไหร่ก็ต้องใช้พื้นที่มากขึ้น แน่นอนว่า พื้นที่เพาะปลูกพืชไร่นาส่วนใหญ่ได้มาจากผืนป่า ซึ่งเราจะพบเห็นปัญหาการบุกรุกป่าเพื่อการเพาะปลูกอยู่เนืองๆ แต่เนื่องด้วยพระมหา
      กรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานแนวพระราชดำรัส “เศรษฐกิจแบบพอเพียง” แก่ประชาชนชาวไทย ทำให้ก่อเกิดโครงการที่มีประโยชน์มากมาย ตัวอย่างหนึ่งก็คือ “โครงการไร่นาสวนผสม” ซึ่งเป็นแนวทางในการใช้พื้นที่ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเกษตร ไร่นาสวนผสมเป็นการปลูกพืชไร่หลายๆ ชนิดที่มีความเกื้อกูลกันทางระบบนิเวศน์วิทยา ภายในพื้นที่จำกัดประโยชน์ของโครงการนี้ไม่เพียงแต่จะได้ผลผลิตของพืชไร่สวนอันหลากหลายในพื้นที่จัด แต่ยังไม่เป็นการรักษาระบบนิเวศน์ของดินให้อุดมสมบูรณ์อยู่เสมอ อีกทั้งยังไม่ก่อให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อการเพาะปลูก อันเป็นจุดประสงค์ของโครงการนี้

ชื่อนิสิต นายวิศิษย์ ปิ่นทองวิชัยกุล
รหัส ID. 4240185322


     ในทุกวันนี้ สภาพความเป็นอยู่ของคนเราต้องการธรรมชาติ และความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายมากขึ้น การทำไร่ทำนาสวนผสม เป็นสิ่งที่เหมาะสำหรับคนเราในปัจจุบัน เนื่องจากง่าย ใช้ประโยชน์ได้ จากผลิตผลต่างๆ ที่ได้ มีผลิตผลอุปโภค บริโภค ในราคาถูก ปลอดภัย และได้ประโยชน์ การทำไร่นาวสนผสม เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจแบบพอเพียง เนื่องจากทำได้เอง ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ได้ความร่มรื่น ได้ผลิตผลที่ได้นำมาบริโภค ก็พอแก่ความต้องการสิ่งที่ประหยัดได้ก็เป็นสิ่งที่ดี ที่เหลือจากการบริโภคเอง ก็นำไปเป็นของฝากแก่เพื่อนบ้าน ญาติๆ หรือคนรู้จัก หรือนำไปขายได้ ทั้งหมดนี้เป็นความเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน เหมาะกับเศรษฐกิจแบบพอเพียง

ชื่อนิสิต น.ส. จันทิมา โพธิสารัตนะ
รหัส ID. 3930415423
คณะ วิทยาศาสตร์


ไร่นาป่าผสม ไรนาป่าและเขา เราอยู่กันได้จริงหรือไม่?

     หากผู้ทำไร่นานั้นๆ ดำเนินการอย่างมีขอบเขตและเหมาะสม ไร่นาก็น่าจะอยู่กับป่าและเขาได้
     การทำไร่ – นา ก็เป็นการปลูกพืชอีกทางหนึ่ง เพียงแต่มันเป็นการลดปริมาณ – ความหนาแน่นของป่าลง หากทำไร – นา เพียงบริเวณเล็กๆ มีขอบเขตไม่ใช้สารเคมีที่เป็นพิษต่อระบบนิเวศน์
ไม่มีผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาวต่อสิ่งมี – ไม่มีชีวิต บริเวณนั้น ก็น่าจะอยู่กันได้ แต่หากมองสภาพความเป็นจริงมนุษย์ผู้ทำไร่ – นานั้น น้อยคนที่จะสนใจว่า ป่า – เขานั้นจะคงสภาพเดิมหรือไม่สัตว์ป่าแถวนั้นจะมีระบบชีวิตเปลี่ยนไปหรือไม่ พวกเขาก็หวังแต่จะได้ผลผลิตหวังจะได้เงินจากการทำไร่ – นา คอยขยับขยายบริเวณ คอยหาผลประโยชน์ หากดินหมดปุ๋ยก็ทอดทิ้งผืนแผ่นดินตรงนั้น ไปทำลายส่วนอื่นต่อไป
     สรุปก็คือ ไร่นาป่าและเขาอยู่ด้วยกันได้ ก็ต่อเมื่อชาวไร่ ชาวนานั้นดูแลใส่ใจ รักษาธรรมชาติส่วนนั้นไว้ ให้เป็นป่า ให้เป็นเขา ให้มีสัตว์ดังที่มันเคยเป็น…..

ชื่อนิสิต น.ส. กมลา สดับพจน์
รหัส ID. 4336504433


โคนไม้ในไพรกว้าง

     โคนและรากไม้เปรียบเสมือนฐานของต้นไม้ใหญ่ที่ช่วยค้ำจุนลำต้ยให้ตั้งตรงสูงตระหง่านแผ่กิ่งก้านสาขาปกคลุมอาณาบริเวณรอบๆ และต้นไม้นี้เองก็เป็นรากฐานของป่าใหญ่
     ไพรกว้างที่จะเป็นต้นน้ำ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ต่างๆ ในป่า ซึ่งหากไม่มีต้นไม้ก็จะไม่มีป่านั่นเอง ยิ่งโคนต้นไม้ใหญ่แค่ไหนลำต้นก็จะยิ่งสูงแผ่ปกครองไปได้กว้างไกล ป่าไม้ก็เช่นเดียวกันหากมีต้นไม้อุดมสมบูรณ์ก็จะทำให้ป่าที่อุดมสมบูรณกว้างใหญ่ เพียงพอที่จะให้สัตว์ป่าได้อาศัยและมนุษย์ได้พึ่งพึง และเป็นรากฐานของระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์ของธรรมชาติ?
     รากไม้ในป่าจะช่วยรักษาความชุ่มชื้น ไม้ใหญ่จะเป็นที่เกาะเกี่ยวข้องไม้เลื้อย

ชื่อนิสิต นาย พลเดช วิชาจารย์
คณะ แพทยศาสตร์