ต้นไม้ที่มีเพลี้ยดูดกินบริเวณยอด

     การที่ต้นไม้มีเพลี้ยดูดกินบริเวณยอดของต้นไม้นั้นๆ เป็นเสมือนว่าเพลี้ยได้รับประโยชน์จากต้นไม้ ซึ่งก็คือ สารอาหาร แร่ธาตุต่างๆ แต่ในขณะเดียวกันต้นไม้ที่มีเพลี้ยดูดกินไม่ได้รับประโยชน์จากเพลี้ย และยังเสียผลประโยชน์อีกด้วย เท่ากับว่าเพลี้ยนั้นเรียกว่า ปรสิตของต้นไม้ก็ย่อมได้ แทนด้วยสัญลักษณ์ +, -) สำหรับต้นไม้ที่มีเพลี้ยดูดกินนั้นต้องมีความอดทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ทั้ง ดิน น้ำแสงแดด แล้วที่สำคัญยังต้องทนต่อเพลี้ยอีก ทั้งๆ ที่ต้นไม้นั้นได้รับอาหารอย่างยากลำบาก เช่น กว่าจะที่ดินจะสมบูรณ์ก็ต้องใช้เวลายาวนานในการทับถมกันระหว่างซากพืช ซากสัตว์ น้ำ ได้จากฝน ซึ่งบางครั้งฝนก็ไม่ตกต้องตามฤดูกาล, แสงแดดซึ่งจำเป็นมากในการสังเคราะห์แสงของพืช ดังสมการ 6CO2 + 6H2O --> C6H12O6 + 6O2 และอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อพืชนั้นๆ ได้รับสารอาหารซึ่งก็คือ C6H12O6 แล้ว แทนที่จะเอาไปเลี้ยงต้นไม้นั้นๆ ได้อย่างเต็มที่ แต่กลับจะต้องโดนเพลี้ยแย่งไปเฉยเลย? การที่เพลี้ยดูดกินบริเวณยอดของต้นไม้เพื่อเอกสารอาหารต่างๆ ที่ลำเลียงจากท่อน้ำ ท่ออาหารขึ้นมา เมื่อเวลาผ่านไปจะทำให้บริเวณยอดไม่มีสารอาหารต่างๆ ไปเลี้ยง ซึ่งก็คือยอดของต้นไม้นั้นๆ จะตายไป และเพลี้ยก็จะเปลี่ยนบริเวณไปเรื่อยๆ และเมื่อเพลี้ยดูดกินจนต้นไม้ หรือพืชตายไป เพลี้ยก็จะเปลี่ยนแหล่งหาอาหารของมันด้วย สำหรับแหล่งที่อยู่อาศัยของเพลี้ย คือ ต้นยอดอ่อนๆ ใบอ่อนๆ ที่จะพบอยู่ทั่วๆ ไป

ชื่อนิสิต น.ส. บุญจิรา ปรัชญากร
รหัส ID. 4242291526
คณะ บัญชี


ต้นไม้กับแมลง

     สิ่งมีชีวิตในโลกนี้ล้วนดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน หากขาดความสัมพันธ์นี้แล้ว ก็ยากที่จะดำรงอยู่ ลองสังเกตสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวเรา หรือสังเกตตัวเราเอง การดำเนินชีวิตของเราต้องมีการเข้าสังคมพบปะกับผู้คนมากมาย มีการให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เพื่อให้ทุกคนอยู่กับอย่างปกติสุขในธรรมชาติก็เช่นเดียวกับสังคมมนุษย์ นอกจากจะสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับมนุษย์แล้ว ในตัวธรรมชาติเองก็มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็น
      สัตว์ใหญ่ สัตว์น้อย อาศัยพืชเป็นแหล่งอาหาร แหล่งที่อยู่อาศัย พืชก็อาศัยมูลที่สัตว์ขับถ่าย ซากพืชซากสัตว์ในการเจริญเติบโต แต่สำหรับพืช… การที่จะผสมเกสรระหว่างตัวผู้กับตัวเมียนั้น นอกจากจะอาศัยแรงลม น้ำฝนแล้ว แมลงทั้งหลายก็มีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือพืชดอกในการเจริญพันธุ์ ผลตอบแทนที่พืชให้กลับคืนคือ น้ำหวาน อาหารจากผลที่เกิดขึ้นภายหลัง รังของแมลงทั้งหลายไม่ว่ามด ผึ้ง ต่อ แตน ก็อาศัยส่วนต่างๆ ของต้นไม้ เป็นส่วนประกอบของรังทั้งสิ้น ปลวก มอด ก็ได้อาหารจากซากต้นไม้ ตัวอ่อน ตัวหนอน ของแมลงก็อาศัยอาหารจากใบไม้ในการเจริญเติบโต เกิดความสัมพันธ์เช่นนี้วนเวียนเป็นวัฏจักรที่ไม่สิ้นสุด

ชื่อนิสิต นายวีรศิษฐ์ บุญเต็งชาญ
รหัส ID. 4335614631
คณะ สัตวแพทยศาสตร์


การเผานาหลังเก็บเกี่ยว

     การเผานาหลังเก็บเกี่ยวเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการทำลายความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุที่อยู่ในดิน ทำลายหน้าดิน ทำให้ดินแข็ง แตกระแหง ดินขาดความชุ่มชื้น หากจะนำนาใน
     ครั้งต่อไปผลผลิตข้าวอาจจะลดลง แต่ถ้าไม่มีการเผานาหลังเก็บเกี่ยว ฟางข้าวที่เหลืออยู่ในนายังคงจะรักษาความชุ่มชื้นของหน้าดินไว้ อีกทั้งจะค่อยๆ สลายกลายเป็นปุ๋ยในนาข้าวอีกด้วย ยิ่งหน้าร้อน ซึ่งมาพร้อมกับแสงแดดที่แผดเผา และความแห้งแล้ง ต้นไม้ในนาแทบจะไม่มี ดังนั้นจะต้องรักษาความชุ่มชื้นและแร่ธาตุในที่นาไว้ให้ได้มากที่สุด โดยต้องเลิกการเผานาหลังเก็บเกี่ยว และหมั่นปรับปรุงคุณภาพของดินให้ดีขึ้นอยู่เสมอ

ชื่อนิสิต น.ส. เสาวนีย์ ใจภักดี
รหัส ID. 4336691033
คณะ เภสัชศาสตร์


     จากภาพที่เห็นเป็นภาพไม้ยืนต้นใหญ่ แผ่กิ่งก้านสาขาปกคลุมอยู่ข้างๆ อาคาร แสดงให้เห็นว่ามนุษย์อาศัยเงาไม้ ร่มเงาจากต้นพืช ทำให้ร่มเย็น จากประเด็นดังกล่าวข้างต้น สามารถโยงได้ถึงเรื่อง “Primary producer” คือ พืชสิ่งที่มีชีวิตซึ่งผลิตสิ่งพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิตหรือปัจจัยสี่
     สอดคล้องกับสมการ 6CO2 + 6 H2O -->C6H12O6 + 6O2 ซึ่งผลของการสังเคราะห์แสงในขั้นสุดท้ายก็จะได้ O2 คือ ออกซิเจน
จากปัจจุบันจะเห็นได้ว่าเราอยู่ท่ามกลางเมืองใหญ่ ซึ่งเต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่อง, มลภาวะ ทางอากาศต้องเผชิญกับการเผาผลาญของ CO2 จากท่อไอเสียของควันรถ
     ดังนั้นการปลูกต้นไม้ใหญ่ไว้ในบริเวณรอบๆ ตัวอาคาร นอกจากจะทำให้ดูสดชื่นมีสีเขียวแล้วต้นไม้ใหญ่นั้นยังจะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และคาย O2 ออกมาให้กับพวกเรา
     สำหรับตัวข้าพเจ้านั้นเห็นว่า การปลูกต้นไม้ใหญ่ยังช่วยคลายความร้อนจากบริเวณรอบๆ ตัวอาคารด้วยความร้อนในตัวอาคาร และรอบๆ ตัวอาคารมักเกิดจากการใช้เครื่องปรับอากาศ
     สุดท้ายนี้ข้าพเจ้าอยากจะรณรงค์ให้ทุกๆ ท่านเห็นความสำคัญของต้นไม้ ว่าเขามีคุณประโยชน์ต่อพวกเรามากแค่ไหน ดังนั้น เราควรจะช่วยกันปลูกต้นไม้ อย่างน้อยช่วยกันปลูกคนละต้นก็จะทำให้เมืองหลวงน่าอยู่ สดใสมากขึ้นกว่านี้

ชื่อนิสิต น.ส. วรลักษณ์ สงวนแก้ว
รหัส ID. 4146117734
คณะ นิติศาสตร์ ปี 3