ต้นไม้กลางน้ำตกไทรโยค กาญจนบุรี

     สันนิษฐานว่า รูปนี้ถ่ายกลางป่าที่มีลำธารไหลผ่าน ต้นไม้กลางรูปชอบความชุ่มชื่น แสงสว่างส่องถึง ซึ่งเป็นสภาพที่เหมาะกับต้นไม้ในเขตร้อนทั่วไป ต้นนี้เป็นไม้ยืนต้นที่ทนต่อ แรงของน้ำ
     ไหลเชี่ยวกรากแสดงว่าต้องมีรากที่แข็งแรง และยังอยู่ได้แม้น้ำจะมากเพียงไร รากก็ไม่เน่า จากที่เห็นในรูป ป่านี้ไม่ทึบมาก ซึ่งเป็นผลดีที่ว่า แสงสว่างสามารถส่องได้ถึง ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ ต้นไม้นี้ยังจะเห็นว่ามีพืชขนาดเล็กมาเกาะ อยู่จำนวนมาก เช่น พวกตะไคร่ แสดงว่ามันยังทนต่อต้นไม้พวกนี้ได้โดยไม่ตายไป และจากต้นไม้ที่มาเกาะแสดงว่าเปลือกต้นไม้นี้มีความชุ่มชื้นอยู่


น้ำตกไทรโยค กาญจนบุรี

     ต้นไม้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร จากกำเนิดเป็นเมล็ดเล็กๆ แล้วค่อยๆ โตใหญ่เป็นไม้ยืนต้นแผ่ร่มเงาให้สรรพสัตว์ได้พึ่งพิง สัตว์ก็ได้ช่วยเพิ่มปุ๋ยให้แก่ต้นไม้ได้ด้วย ใบไม้ที่สดเขียวจะคายน้ำออกมาสู่บรรยากาศ กลั่นกรองเป็นเม็ดฝน ตกลงมาเป็นสายน้ำชุบชีวิตต้นไม้และสรรพสัตว์ให้ยืนยงต่อไป
     จะเห็นได้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้ง น้ำ ต้นไม้ สัตว์ ต่างก็ต้องพึ่งพาอาศัยกันทั้งสิ้น น้ำตกไทรโยค กาญจนบุรี ก็เป็นระบบนิเวศระบบหนึ่ง ที่ดำเนินไปตามกระบวนการพึ่งพาเกื้อกูลตามธรรมชาติ เรา (มนุษย์) เมื่อเข้าไปเยี่ยมชม ดูดดื่มกับสภาพธรรมชาติแล้ว ก็ควรจะช่วยกันธำรงความเป็นธรรมชาตินี้ให้คงอยู่ไว้ตลอดไป ไม่ต้องทำอะไรมากมาย เพียงไม่ไปทำร้ายเขา เช่น ทิ้งขยะ ขีด เขียน สลัก ตามต้นไม้ ก็พอแล้ว เพราะต้นไม้ก็เป็น most tolerant creature แล้วเราก็จะได้ชื่นชมความงามต่อไป และที่สำคัญที่สุด ก็เพื่อมี “ชีวิต” อยู่ต่อไปได้อย่างราบรื่นนั่นเอง

ชื่อนิสิต น.ส. สุภาทัศน์ พึ่งพา
รหัส ID. 4335164530
คณะ แพทย์ศาสตร์


น้ำตกไทรโยค กาญจนบุรี

     เห็นภาพนี้แล้วรู้สึกว่าบริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์ มีความสมดุลของระบบนิเวศน์วิทยาร่มรื่น ร่มเย็น มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นริมฝั่ง ซึ่งช่วยป้องกันการพังของตลิ่ง เนื่องจากมีรากยึดเกาะเอาไว้ และต้นไม้ที่ขึ้นริมฝั่งเป็นต้นไม้ประเภทเดียวกัน แสดงว่าต้นไม้ชนิดนี้ชอบน้ำ และยังให้ร่มเงา บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีน้ำตกไหลลงสู่แม่น้ำ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำ รวมทั้งยังเป็นแหล่งที่อาศัยของสัตว์น้ำ และเป็นที่หากินพักผ่อนของสัตว์ต่างๆ เป็นแหล่งอาหารของต้นไม้ สามารถเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ


ต้นไม้ที่มีเพลี้ยดูดกินใบยอด

     ภาพนี้แสดงถึงการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต การทำลายของแมลงและแสดงถึงความทนทานของต้นไม้ต่อ และเพลี้ยเป็นผู้บริโภคจากภาพจะเห็นว่าต้นไม้มีการเสียหายด้วยจึงแสดงว่ามีกมาอยู่ร่วมกันแบบปริสิต คือ พืชถูกกินไป และเพลี้ยกินพืชเป็นอาหาร เพราะว่าเพลี้ยไม่สามารถสร้างอาหารเองได้
     จึงต้องดูดกินอาหารจากใบของพืช ซึ่งใบที่เพลี้ยจะกินได้ส่วนมากเป็นใบอ่อน เพราะว่ามีการสร้างอาหารมากและอ่อน ดูดอาหารได้ง่าย ซึ่งเพลี้ยนี้ถือเป็นศัตรูพืชที่ทำความเสียหาย ให้แก่พืช ทำให้ผลลดลง จึงต้องมีการนำสารเคมีเข้ามาใช้อีก ก็ทำให้ผู้บริโภคเกิดความอันตรายในกรณีที่เพลี้ยกินพืชที่สามารถรับประทานได้
     นอกจากนี้ภาพนี้ยังแสดงถึงการที่แหล่งที่นี้ มีความปลอดภัยจากสารเคมีป้องกันแมลง เนื่องจากมีเพลี้ยดูดสารอาหารจากใบพืชมากมาย

ชื่อนิสิต น.ส. ระวิวรรณ ปิยปสุต
รหัส ID. 4335110630
คณะ แพทย์ศาสตร์