หน่วยปฏิบัติการวิจัยพรรณไม้ประเทศไทย

 

(Plants of Thailand Research Unit)

 

ไทย:Thai

English:อังกฤษ

ความเป็นมา

บุคลากร

วัตถุประสงค์

เป้าหมาย

ผลงานของหน่วยฯ

ผลงานวิจัย

ผลงานตีพิมพ์

ผลงานวิทยานิพนธ์

การเสนอผลงาน

ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น

งานบริการวิชาการ

งานวิจัยี่อยู่ระหว่างดำเนินการ

ที่อยู่ติดต่อ

 

 

ความเป็นมา

    หน่วยปฏิบัติการวิจัยพรรณไม้ประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับอนุมัติให้ก่อตั้งเป็นหน่วยปฏิบัติการวิจัยหนึ่งของคณะวิทยาศาสตร์ในปี ๒๕๓๓ และได้รับจัดสรรงบประมาณดำเนินการของหน่วยในปีงบประมาณ ๒๕๓๓ และ ๒๕๓๔ ทางหน่วยได้ดำเนินการวิจัยอย่างต่อเนื่อง ได้มีส่วนสำคัญในการผลิตบัณฑิต ระดับปริญญาบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ในหลักสูตรพฤกษศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ชีวภาพตามลำดับ

 

บุคลากร

 

ชื่อ

ความเชี่ยวชาญ / กลุ่มพืช / งานวิจัยที่สนใจ

ตำแหน่งในหน่วย

รองศาสตราจารย์ ดร.อบฉันท์ ไทยทอง

พืชวงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) วงศ์ดอกรัก (Asclepiadaceae) และพืชกลุ่มไบรโอไฟท์ (Bryophytes)

ที่ปรึกษา

รองศาสตราจารย์ บุศบรรณ ณ สงขลา

พืชวงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae) และอนุกรมวิธานของไม้ดอก

ที่ปรึกษา

รองศาสตราจารย์ วิยดา เทพหัตถี

พืชผักพื้นเมือง ไม้ประดับ และพืชที่มีการนำมาใช้ประโยชน์

ที่ปรึกษา

รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด

เฟิร์นและพืชกลุ่มใกล้เคียงเฟิร์น และชีวานุกรมวิธาน

หัวหน้าหน่วยฯ

อาจารย์ ดร.ชุมพล คุณวาสี

เรณูวิทยา พืชวงศ์ผักบุ้ง และวงศ์แตงกวา (Cucurbitaceae)

รองหัวหน้าหน่วยฯ

อาจารย์ ดร.ต่อศักดิ์ สีลานันท์

ซิสเต็มมาติกและซิสเต็มมาติกระดับโมเลกุลของพืช และอนุกรมวิธานของพืชที่มีท่อลำเลียง

เลขานุการฯ

อาจารย์รสริน พลวัฒน์

พืชกลุ่มไบรโอไฟท์ เฟิร์นและพืชกลุ่มใกล้เคียงเฟิร์น

ผู้ช่วยเลขานุการฯ

อาจารย์สร้อยนภา ญาณวัฒน์

ไม้ประดับ

กรรมการ

นางปริญญนุช ดรุมาศ

อนุกรมวิธานของไม้ดอก

ผู้ช่วยเลขานุการฯ

 

  

รศ.ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด

รศ.ดร.อบฉันท์ ไทยทอง

รศ.บุศบรรณ ณ สงขลา

รศ.วิยดา เทพหัตถี

 

ดร.ชุมพล คุณวาสี

ดร.ต่อศักดิ์ สีลานันท์

อ.รสริน พลวัฒน์

อ.สร้อยนภา ญาณวัฒน์

คุณปริญญนุช ดรุมาศ

 

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ในการวิจัยของหน่วยฯ เน้นการศึกษาอนุกรมวิธานของพรรณไม้ในประเทศไทยในหัวข้อต่างๆ ดังนี้

  •   ศึกษาความหลากหลายของพรรณไม้เน้นพื้นที่ โดยศึกษาอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง ให้ความสำคัญกับพื้นที่ที่ไม่เคยมีการศึกษามาก่อน

  •    ศึกษาทบทวนพันธุ์ไม้เฉพาะกลุ่ม (revision) ในโครงการพรรณพฤกษชาติของประเทศไทย (Flora of Thailand) โดยศึกษาครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ

  •  ศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน โดยศึกษาความเกี่ยวข้องและการใช้ประโยชน์จากพืชกับชุมชนท้องถิ่น

  •    ศึกษาอนุกรมวิธานของพืชเศรษฐกิจ พรรณไม้ประดับ และพืชที่มีการนำมาใช้ประโยชน์อื่นๆ

  •    ศึกษาสัณฐานวิทยาของสปอร์และเรณูของพรรณไม้ในประเทศไทย

  •    ศึกษาชีวานุกรมวิธานของสกุลหรือชนิดเชิงซ้อน โดยศึกษาข้อมูลหลายๆ ด้าน เช่น ชีวโมเลกุล อนุกรมวิธานเชิงตัวเลข กายวิภาค และเรณูวิทยา

 

เป้าหมาย

        เป้าหมายการดำเนินงานของหน่วยฯ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านความหลากหลายของพรรณไม้ในประเทศไทย และตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารการวิจัยระดับชาติและระดับนานาชาติ นอกจากนี้ยังนำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการวิจัยไปถ่ายทอดให้กับนักวิจัยในหน่วยงานอื่น ในรูปแบบจัดการฝึกอบรม และเขียนบทความ เอกสารทางวิชาการเพื่อใช้ในการอ้างอิง โดยตัวอย่างพรรณไม้และผลงานการวิจัยต่างๆ ได้เก็บรวบรวมไว้ในพิพิธภัณฑ์พืช ศ.กสิน สุวตะพันธุ์

 

ผลงานของหน่วยฯ

        การพบและตั้งชื่อพืชชนิดใหม่ของโลก

Hoya thailandica Thaithong

ไม้เลื้อยสกุลนมตำเลีย

เฟิร์นแววปีกแมลงทับ

(Microsorum thailandicum T. Boonkerd & Noot.)

 

ผลงานวิจัย

 

โกสุม พีระมาน ชุมพล คุณวาสี กัญดา เกษตรสินสมบัติ และ รัฐพงษ์ พวงทับทิม. ๒๕๔๐-๒๕๔๓. การศึกษาสัณฐานวิทยาของเรณูพืชวงศ์เปล้า (Euphorbiaceae) ในประเทศไทย. ทุนวิจัยโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT 140003).

ระงับพิษ

Breynia glauca

แมแหมะ

Homalanthus populneus

ขันทองพยาบาท

Suregada multiflorum

สมอทะเล

Shirakiopsis indica

-

Dalechampia bidentata

คันแหลน

Spathiostemon moniliformis

มะเยาเหลี่ยม

Vernicia montana

มะฝ่อ

Trewia nudiflora

-

Leptopus australis

 

ทวีศักดิ์  บุญเกิด จิรายุพิน จันทรประสงค์ อบฉันท์ ไทยทอง บุศบรรณ ณ สงขลา รสริน พลวัฒน์ ปริญญนุช กลิ่นรัตน์ ปิยพงษ์ ราชตา และ สุชาดา วงศ์ภาคำ ๒๕๔๐-๒๕๔๓.  ความหลากหลายของพรรณไม้บริเวณวนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ จังหวัดเชียงราย.

น้ำตกขุนกรณ์

มีความสูงถึง 70 เมตร

-

Dicranopteris linearis

var. montana

กูดหมาก

Pyrrosia mollis

-

Selaginella ciliaris

โหราบอน

Balanophora abbreviata

ก่อใบเลื่อม

Castanopsis tribuloides

-

Ceropegia siamensis

พวงแก้วหอม

Clematis eichleri

เอื้องสายวิสูตร

Dendrobium falconeri

กล้วยฤาษี

Diospyros glandulosa

-

Ophiopogon brevipes

-

Stauranthera grandiflora

 

ทวีศักดิ์  บุญเกิด และ รสริน พลวัฒน์ ๒๕๔๕-๒๕๔๖.  ความหลากหลายและนิเวศวิทยาของเทอริโดไฟต์ในป่าธรรมชาติและป่าที่ถูกรบกวนในพื้นที่ทองผาภูมิตะวันตก. ทุนวิจัยโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT R_144024).

 
 

ปริญญนุช ดรุมาศ ชุมพล คุณวาสี และ ต่อศักดิ์ สีลานันท์ ๒๕๔๕-๒๕๔๖.  พรรณไม้ที่มีระบบท่อลำเลียงบริเวณในพุพื้นที่ อำเภอทองผาภูมิ ฝั่งตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี. ทุนวิจัยโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (โครงการ BRT R_144023).

     
     
 
 
       
       
       

 

ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ

        ระดับนานาชาติ

Boonkerd, T. 2001. Morphometric Relationships among Three Populations of Afgekia sericea Craib (Fabaceae) in Thailand. Journal of Scientific Research, Chulalongkorn University. 26, 1: 1-10.

Boonkerd, T. 2003. Morphometric Analysis of Variation among Three Populations of Doryopteris ludens (Wall. ex Hook.) J. SM. (Adiantaceae: Pteridophyta) in Thailand. Fern Gazette. (inpress).

Boonkerd, T. and Nooteboom, H.P. 2001. A New Species of Microsorum (Polypodiaceae) from Thailand. Blumea. 46: 581-583.

Boonkerd T. and Pollawatn R. 2002. Leptochilus  minor  Fée  (Polypodiaceae), a new record for Thailand.  The Natural History Journal of Chulalongkorn University. 2(1) : 1-3.

Boonkerd, T., Saengmanee, S. and Baum B.R. 2002. The Varieties of Bauhinia pottsii G.Don in Thailand (Leguminosae-Caesalpinioideae). Plant Systematic and Evolution. 232: 51-62.

Na Songkhla, B. and Chandraprasong, J. 2001. Dillenia scabrella (D. Don) Wall. (Dilleniaceae), a new record for Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany). 29 : 23–24.

Na Songkhla, B. and Klinratana, P. 2001. Bauhinia ornata Kurz var. subumbellata (Pierre ex Gagnep.) K. & S.S. Larsen (Leguminosae–Caesalpinioideae), a new record for Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany). 29 : 29-31.

Rachata, P. and Boonkerd, T. 2001. Selaginella ciliaris (Retz.) Spring (Selaginellaceae), A New Record for Thailand. Thai Forest Bulletin (Botany). 29: 38-39.

Rachata, P. and Boonkerd, T. 2002. Pteridophytes Flora of Khun Korn Waterfall Forest Park, Chiang Rai Province.  Natural History Bulletin of the Siam Society. 50,2 : 195-210.

Stuppy, W., van Welzen, P.C. Klinratana, P. and Posa., M.C.T. 1999. Revision of the genera Aleurites, Reutealis and Vernicia (Euphorbiaceae). Blumea. 44 : 73–98.

Thaithong, O. 2001. A new species of Hoya (Asclepiadaceae) from Thailand. Nordic Journal of Botany. 21: 143–145.

Tosak Seelanan, Curt L. Brubaker, James McD. Stewart, Lyn A. Craven, and Jonathan F. Wendel. 1999. Molecular systematics of Australian Gossypium L. section Grandicalyx (Malvaceae).  Systematic Botany. 23: 183-208.

Yuyen, Y. and  Boonkerd, T. 2002. Pteridophyte Flora of Huai Yang Waterfall National Park, Prachuap Khirikhan Province, Thailand. The Natural History Journal of Chulalongkorn University. 2(1) : 39-49.

 

ผลงานวิทยานิพนธ์ของนิสิตในความดูแลของหน่วย ฯ

        ระดับปริญญาตรี

ชื่อนิสิต / หัวข้อวิทยาปฏิบัติ

อาจารย์ที่ปรึกษา

ปีการศึกษา

. นายสหัช จันทนาอรพินท์

การศึกษาลิเวอร์เวิร์ตในบริเวณน้ำตกขุนกรณ์ จังหวัดเชียงราย

รศ.ดร. ทวีศักดิ์ บุญเกิด และ รศ.ดร.อบฉันท์ ไทยทอง

๒๕๔๐

. นายมานิต คิดอยู่

การศึกษาทางอนุกรมวิธานและพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของไม้ต้นและไม้พุ่มดอกหอม ในสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ศูนย์การศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จังหวัดเพชรบุรี

รศ.วิยดา เทพหัตถี

๒๕๔๑

. นางสาวอรุณรัตน์ มีกิจเจริญโรจน์

การศึกษาทางอนุกรมวิธานและพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของไม้ล้มลุก ไม้เลื้อย และไม้รอเลื้อยดอกหอม ในสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ศูนย์การศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จังหวัดเพชรบุรี

รศ.วิยดา เทพหัตถี

๒๕๔๑

. นางสาวมลฤทัย พลชัย

การศึกษาทางอนุกรมวิธานของพรรณไม้ต้นและไม้พุ่ม ในเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน จังหวัดเพชรบุรี

รศ.วิยดา เทพหัตถี

๒๕๔๓

. นางสาวพิมานรจิต คูวัฒนสุชาติ

ไม้พุ่มประดับนำเข้าในประเทศไทย

รศ.วิยดา เทพหัตถี

๒๕๔๓

. นายชัชวาล วงศ์ชัย

ไม้เลื้อยประดับนำเข้าในประเทศไทย

รศ.วิยดา เทพหัตถี

๒๕๔๓

. นางสาวสุกัลยา ภู่ทอง

การใช้พรรณไม้ในวิถีชีวิตของชนชาวส่วย ในจังหวัดศรีสะเกษ

รศ.วิยดา เทพหัตถี

๒๕๔๓

. นางสาวกาญจนา บุญเรือง

การศึกษาอนุกรมวิธานของไม้กระถางแขวนในประเทศไทย

รศ.วิยดา เทพหัตถี

๒๕๔๔

. นายนวรัฐ  เทศพิทักษ์

อนุกรมวิธานของไม้ต้นและไม้พุ่มบริเวณเขาบันไดอิฐ จังหวัดเพชรบุรี

.ดร.ชุมพล  คุณวาสี

๒๕๔๔

 

        ระดับปริญญาโท

ชื่อนิสิต / หัวข้อวิทยานิพนธ์

อาจารย์ที่ปรึกษา

ปีการศึกษา

. นางสาวกัญดา เกษตรสินสมบัติ

Pollen Morphology of Some Genera of Euphorbiaceae in Thailand

.ดร.ชุมพล คุณวาสี และ รศ.โกสุม พีรมาน

๒๕๓๙ – ๒๕๔๒

. นางสาวจุฑาทิพย์ เชียรเจริญ

Indigenous Vegetables in Lopburi Province

รศ.วิยดา เทพหัตถี

๒๕๓๙ – ๒๕๔๒

. นางสาวปริญญนุช กลิ่นรัตน์

การศึกษาอนุกรมวิธานของไม้พุ่ม ไม้รอเลื้อย และไม้เถาเนื้อแข็ง ในบริเวณวนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ จังหวัดเชียงราย

รศ.บุศบรรณ ณ สงขลา

๒๕๓๙ – ๒๕๔๒

. นางสาวอุษา ทองไพโรจน์

Indigenous Vegetables in Kanchanaburi Province

รศ.วิยดา เทพหัตถี

๒๕๓๙ – ๒๕๔๒

. นายปิยพงศ์ ราชตา

Taxonomic Study of Ferns and Fern Allies at Khunkorn Waterfall Forest Park, Chiang Rai Province

รศ.ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด

๒๕๓๙ – ๒๕๔๒

. นายรัฐพงษ์ พวงทับทิม

Palynological study of the intramontane peat bog at Doi Inthanon, Chiang Mai Province

.ดร.ชุมพล คุณวาสี และ รศ.โกสุม พีรมาน

๒๕๓๙ – ๒๕๔๒

. นางสาวสุชาดา วงศ์ภาคำ

การศึกษาอนุกรมวิธานของไม้ล้มลุก ในบริเวณวนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ จังหวัดเชียงราย

รศ.ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด และ รศ.ดร.อบฉันท์ ไทยทอง

๒๕๓๙ – ๒๕๔๓

. นายชัยชาญ มณีรัตนรุ่งโรจน์

อนุกรมวิธานของไม้ต้น และไม้พุ่ม บริเวณเขาวังเขมร จังหวัดกาญจนบุรี

รศ.บุศบรรณ ณ สงขลา และ รศ.ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด

๒๕๔๐ – ๒๕๔๓

. นายมานิต คิดอยู่

Comparative Anatomy of Some Cassia species in Thailand

รศ.ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด และ ผศ.เรณู ถาวโรฤทธิ์

๒๕๔๑ – ๒๕๔๓

๑๐. นายยุธยา อยู่เย็น

Taxonomic Study of Ferns and Fern Allies at Huai Yang Waterfall National Park, Prachuap Khiri Khan Province

รศ.ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด

๒๕๔๐ – ๒๕๔๓

๑๑. นายวรรณชัย ชาแท่น

อนุกรมวิธานของไม้ล้มลุก และไม้เลื้อย บริเวณเขาวังเขมร จังหวัดกาญจนบุรี

รศ.บุศบรรณ ณ สงขลา และ รศ.ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด

๒๕๔๐ – ๒๕๔๓

๑๒. นางสาวทัศนีวรรณ ก้อนจันทร์เทศ

การจำแนกลักษณะกับการประเมินและลายพิมพ์ดีเอนเอของฝ้าย

.ดร.ต่อศักดิ์ สีลานันท์

๒๕๔๐ – ๒๕๔๔

๑๓. นางสาวอังคณา คณีกุล

ความหลากหลายของสาหร่ายทนร้อนในลำธารน้ำพุร้อนบางแห่ง ในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย และจังหวัดแม่ฮ่องสอน

รศ.เยาวลักษณ์ อัมพรรัตน์

๒๕๔๐ – ๒๕๔๔

๑๔. นายวสุ  สุทธเสถียร

การศึกษาอนุกรมวิธานของพันธุ์ไม้ที่มีเนื้อไม้บริเวณเขาวังเขมร  จังหวัดกาญจนบุรี

รศ.ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด

๒๕๔๐ – ๒๕๔๔

๑๕. นางสาวปวีณา ใจกระเสน

การศึกษาอนุกรมวิธานของไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก และไม้เลื้อยในเขตอุทยานแห่งชาติปางสีดา จังหวัดสระแก้ว

.ดร.ต่อศักดิ์ สีลานันท์ และ รศ.บุศบรรณ ณ สงขลา

๒๕๔๒ – ๒๕๔๕

๑๖. นางสาวปวีณา ไตรเพิ่ม

การศึกษาอนุกรมวิธานของพันธุ์ไม้วงศ์ Convolvulaceae บางสกุลในประเทศไทย

.ดร.ชุมพล คุณวาสี และ รศ.บุศบรรณ ณ สงขลา

๒๕๔๒ – ๒๕๔๕

๑๗. นางสาววิลาวัณย์  รัตนถิรกุล

การศึกษาอนุกรมวิธานของเฟิร์นและพืชกลุ่มใกล้เคียงเฟิร์น บริเวณอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า จังหวัดพิษณุโลก

รศ.ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด

๒๕๔๒ – ๒๕๔๕

๑๘. นางสาวสุธิรา สระประเทศ

ความหลากหลายของพืชที่มีท่อลำเลียงบริเวณพื้นที่พุหมู่บ้านท่ามะเดื่อ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

.ดร.ต่อศักดิ์ สีลานันท์ และ รศ.บุศบรรณ ณ สงขลา

๒๕๔๒ – ๒๕๔๕

๑๙. นางสาวอรวรรณ วรรณศรี

ความหลากหลายของเฟิร์นและพืชกลุ่มใกล้เคียงในป่าธรรมชาติ และตามแนวท่อก๊าซธรรมชาติ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

รศ.ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด

๒๕๔๒ – ๒๕๔๕

๒๐. นายขจรศักดิ์ วรประทีป

การศึกษาอนุกรมวิธานของพืชมีท่อลำเลียงบนเกาะพระ เกาะพระน้อย เกาะเตาหม้อ

.ดร.ชุมพล คุณวาสี และ รศ.บุศบรรณ ณ สงขลา

๒๕๔๒ – ๒๕๔๕

๒๑. นายธนุชา บุญจรัส

อนุกรมวิธานของพรรณไม้ดอกบริเวณอุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี

.ดร.ชุมพล คุณวาสี

๒๕๔๒ – ๒๕๔๕

๒๒.นางสาวสมฤทัย ชัยโพธิ์

ลักษณะจุลทรรศน์เปรียบเทียบของเฟิร์นบางชนิดในสกุล Thelypteris ในประเทศไทย

รศ.ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด และ ผศ.เรณู ถาวโรฤทธิ์

๒๕๔๒ – ๒๕๔๖

๒๓. นายสหณัฐ เพชรศรี

อนุกรมวิธานเชิงตัวเลขของพืชสกุล Cassia L. sensu lato

รศ.ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด

๒๕๔๒ – ๒๕๔๕

๒๔. นายสหัช จันทนาอรพินท์

ความหลากหลายของไบร์โอไฟต์บริเวณยอดเขาหลวง อุทยานแห่งชาติห้วยยาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

รศ.ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด และรศ.ดร.อบฉันท์ ไทยทอง

๒๕๔๒ – ๒๕๔๕

๒๕. นางสาวอรทัย เนียมสุวรรณ

พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวเขาเผ่ากะหร่างที่อาศัยอยู่บริเวณ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

.ดร.ชุมพล คุณวาสี

๒๕๔๓ - ๒๕๔๖

 

       ระดับปริญญาเอก

ชื่อนิสิต / หัวข้อวิทยานิพนธ์

อาจารย์ที่ปรึกษา

ปีการศึกษา

. นายสุพจน์ แสงมณี

Biosystematics of Bauhinia pottsii G. Don in Thailand

รศ.ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด และ รศ.ดร.อบฉันท์ ไทยทอง

๒๕๓๙ – ๒๕๔๓

. นายเดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ

ความสัมพันธ์ของปัจจัยทางนิเวศวิทยาและความแปรผันทางสัณฐานวิทยาของกล้วยป่า (Musa acuminata Colla.) บริเวณภาคเหนือตอนล่างประเทศไทย

รศ.ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด และ ผศ.ดร.กำธร ธีรคุปต์ (ภาควิชาชีววิทยา)

๒๕๔๒ – ๒๕๔๖

. นายบุญสนอง ช่วยแก้ว

Pollination Biology of Afgekia sericea Craib

.ดร.ชุมพล คุณวาสี, .ดร.ต่อศักดิ์ สีลานันท์ และ รศ.ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด

๒๕๔๑ – ๒๕๔๖

. นางศศิวิมล แสวงผล

สายสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของกล้วยตานี (Musa balbisiana Colla) เครือญาติและลูกผสม

.ดร.ต่อศักดิ์ สีลานันท์ และ Dr.Hugo Volkaert (ม.เกษตรศาสตร์)

๒๕๔๓ – ๒๕๔๖

. นายมานิต คิดอยู่

ชีวานุกรมวิธานของพืชชนิดเชิงซ้อน Hoya parasitica (Roxb.) Wall. ex Wight ในประเทศไทย

รศ.ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด รศ.ดร.อบฉันท์ ไทยทอง และ อ.ดร.ต่อศักดิ์ สีลานันท์

๒๕๔๔ – (กำลังดำเนินการ)

. นางสาวมลิวรรณ นาคขุนทด

ซิสเต็มมาติกระดับโมเลกุลของพืชสกุลปาหนันช้าง (Goniothalamus Hook.f. & Thomson) และสกุลใกล้เคียงในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

.ดร.ต่อศักดิ์ สีลานันท์ และ Dr.Richard M.K. Saunders (Hong Kong University)

๒๕๔๔-(กำลังดำเนินการ)

 

การเสนอผลงาน

Boonkerd, T. et al. 2002. Orchids: The richest plants of Khun Korn Waterfall forest park, Chiang Rai Province. Poster Presentation at International Seidenfaden Orchid Symposium: Orchid Biology and Conservation (1st-4th December 2002) Lotus Pang Suan Kaew Hotel, Chiang Mai, Thailand.

Chantanaorrapint, S. and O. Thaithong. 2002. Preliminary Study of Orchidaceae at Huai Yang Waterfall National Park, Prachaup Khiri Khan Province, Thailand. Poster Presentation at the 17th World Orchid Conference and Show (24th April – 2nd May 2002) Shah Alam, Malaysia.

Khunwasi, C. and. Bortenschlager, S. 1999. Pollen morphology of the Benincasinae (Ser.) C. Jeffrey (tribe Benincaseae Ser., Cucurbitaceae) and its taxonomic significance. Poster Presentation at the XVI International Botanical Congress (1st - 7th August 1999) America's Center, Saint Louis, Missouri, U.S.A.

Thaithong, O. and C. Khunwasi. 2002. Uncommon Endemic Species of Orchids in Thailand. Oral Presentation at the 17th World Orchid Conference and Show (24th April – 2nd May 2002) Shah Alam, Malaysia.

 

ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น

         ทางด้านวิชาการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยพรรณไม้ประเทศไทยมีความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลพรรณไม้ แลกเปลี่ยนตัวอย่างพันธุ์ไม้ และร่วมทำวิจัยเกี่ยวกับพรรณไม้ในประเทศไทยกับสวนพฤกษศาสตร์ สวนหลวง ร.๙  หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (BKF)  พิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพฯ กรมวิชาการเกษตร (BK)  หอพรรณไม้ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ (QSBG)  รวมทั้งสถาบันการศึกษาในประเทศที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับความหลากหลายของพรรณไม้ เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น

         สำหรับความร่วมมือกับหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ ทางหน่วยฯ มีการติดต่อโดยสามารถส่งนิสิตไปร่วมทำวิจัยได้ที่ศูนย์ Eastern Cereal and Oilseed Research Center เมือง Ottawa และมหาวิทยาลัย Ottawa ประเทศแคนาดา  นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลวิชาการด้านความหลากหลายของพืชกับพิพิธภัณฑ์พืชคิว (Kew Herbarium)  บริติชมิวเซียม (British Natural History Museum) สหราชอาณาจักร  พิพิธภัณฑ์พืชมหาวิทยาลัยไลเดน ประเทศเนเธอร์แลนด์ และพิพิธภัณฑ์พืชมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา

 

งานบริการวิชาการ

        การเผยแพร่ความรู้

                ทางหน่วยฯ ได้ให้บริการข้อมูลด้านพืชทั่วไป พืชที่มีความสำคัญ หรือพืชที่อยู่ในความสนใจของประชาชน ตามที่มีการสอบถามมา ทั้งโดยการติดต่อโดยตรงและทางโทรศัพท์ นอกจากนี้หน่วยฯ ยังมีการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณชนในรูปแบบต่างๆ นอกเหนือจากการตีพิมพ์ในวารสารวิจัย เช่น ในรูปของตำรา บทความวิชาการ

. ทวีศักดิ์ บุญเกิด และคณะ. 2543. การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้ : โครงการศึกษาการอนุรักษ์ และคุ้มครองพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง. สำนักงานแผนและนโยบายสิ่งแวดล้อม

. อบฉันท์ ไทยทอง. 2543. กล้วยไม้เมืองไทย. สำนักพิมพ์บ้านและสวน. กรุงเทพฯ.

. อบฉันท์ ไทยทอง และ ชุมพล คุณวาสี. 2543. สกุลกล้วยไม้ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม. (แปลจากหนังสือ Orchid Genera of Thailand, Laos, Cambodia and Vietnam โดย A.Schuiteman and E.F. de Vogel) National Herbarium Netherlands, Leiden, The Netherlands.

. Boonkerd, T. 2003. Huperzia carinata, Loxogramme scolopendrina, and Lycopodium complanatum. In P.C.M. Jansen and N.W. Soetjipto (eds.),  PROSEA 15: Cryptogams. 112-113, 120-121, 126-128.

. Boonkerd, T. and Pollawatn, R. 2000. Pteridophytes in Thailand.  Office of Environmental Policy and Planning, Bangkok, Thailand.

. Thaithong, O. 1999. Orchids in Thailand. Office of Environmental Policy and Planning, Bangkok, Thailand.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

        การจัดฝึกอบรม

                คณาจารย์และนักวิทยาศาสตร์ในหน่วยฯ ได้ให้บริการวิชาการในการเป็นวิทยากรบรรยาย และฝึกอบรมให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับพรรณไม้ เช่น

-          เป็นวิทยากรในการจัดการอบรมนักพฤกษศาสตร์น้อย โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับข้อมูลพรรณไม้ในโรงเรียน

-          เป็นวิทยากรในการฝึกอบรมวาดภาพวิทยาศาสตร์ จัดโดยโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพฯ สยามบรมราชกุมารี

-           เป็นวิทยากรในโครงการอบรมครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดโดยคณะวิทยาศาสตร์ และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ระหว่างปี ๒๕๔๒ ถึงปัจจุบัน

 -          เป็นวิทยากรในการอบรมครูให้กับหน่วยงานต่างๆ ตามที่ได้รับติดต่อ

 

        การจัดประชุมวิชาการ

                หน่วยปฏิบัติการวิจัยได้จัดการประชุมวิชาการความหลากหลายด้านพืช เพื่อให้ได้มีการนำเสนอความก้าวหน้าและผลงานวิจัย พร้อมทั้งเป็นการประชุมหารือหาแนวทางและนโยบายเพื่อความร่วมมือในการวิจัยด้านพืชในประเทศไทย

 

งานวิจัยี่อยู่ระหว่างดำเนินการ

. โครงการวิจัยการศึกษาทบทวนพืชวงศ์ Lycopodiaceae ในประเทศไทย

- ผู้วิจัย : รศ.ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด และ อาจารย์ รสริน พลวัฒน์

. โครงการวิจัยการศึกษาทบทวนเฟิร์นสกุล Thelypteris ในประเทศไทย

- ผู้วิจัย : รศ.ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด

นิสิตปริญญาโท :

. โครงการวิจัย Diversity of Moss Family Polytrichaceae in Thailand

- ผู้วิจัย : อาจารย์ รสริน พลวัฒน์

. โครงการวิจัยพรรณไม้ที่มีระบบท่อลำเลียงบริเวณในพุพื้นที่อำเภอทองผาภูมิฝั่งตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี

- ผู้วิจัย : นางปริญญนุช ดรุมาศ อาจารย์ ดร.ชุมพล คุณวาสี อาจารย์ ดร.ต่อศักดิ์ สีลานันท์

นิสิตปริญญาโท : .. สุธิรา สระประเทศ

ที่ปรึกษาโครงการ : รศ.ดร.อบฉันท์ ไทยทอง รศ.บุศบรรณ ณ สงขลา และ รศ.วิยดา เทพหัตถี

. โครงการวิจัยความหลากหลายและนิเวศวิทยาของเทอริโดไฟต์ในป่าธรรมชาติและป่าที่ถูกรบกวนในพื้นที่ทองผาภูมิตะวันตก

- ผู้วิจัย : รศ.ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด และ อาจารย์ รสริน พลวัฒน์ 

นิสิตปริญญาโท : ..อรวรรณ วรรณศรี และ น..อภิรดา สถาปัตยานนท์

. โครงการวิจัยความหลากหลาย และความสัมพันธ์ทางสายพันธุ์ของกล้วยตานี (Musa balbisiana Colla) เครือญาติและ ลูกผสม

- ผู้ร่วมวิจัย : อาจารย์ ดร.ต่อศักดิ์ สีลานันท์ และ Dr.Hugo Volkaert (ม.เกษตรศาสตร์)

นิสิตปริญญาเอก : อาจารย์ ศศิวิมล แสวงผล

·        คัดเลือก AFLP marker เพื่อศึกษาความหลายทางพันธุกรรมของกล้วยตานี

·        ดำเนินการวิจัยและรวบรวมข้อมูล AFLP จาก ชุด marker ที่คัดเลือกไว้

·        วิเคราะห์ข้อมูล AFLP และประเมินความหลากหลายของกล้วยตานีในประเทศไทย

. โครงการวิจัยการศึกษาทบทวนเฟิร์นสกุล Tectaria ในประเทศไทย

- ผู้วิจัย : รศ.ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด

นิสิตปริญญาโท :

. โครงการวิจัยความหลากหลายของเทอริโดไฟต์บริเวณป่าฮาลาบาลา จ.นราธิวาส

- ผู้วิจัย : รศ.ดร.ทวีศักดิ์ บุญเกิด อาจารย์ รสริน พลวัฒน์ นางปริญญนุช ดรุมาศ และ นายทนงศักดิ์ จงอนุรักษ์ (กรมอุทยานแห่งชาติฯ)

นิสิตปริญญาโท :

ที่ปรึกษาโครงการ : ดร. เชาวลิต นิยมธรรม (กรมอุทยานแห่งชาติฯ)

 

 

 

ที่อยู่ติดต่อ :

หน่วยปฏิบัติการวิจัยพรรณไม้ประเทศไทย

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ถ.พญาไท กรุงเทพฯ 10330

 

โทรศัพท์ 0 2218 5502-3

โทรสาร 0 2252 8979

E-mail: Thaweesakdi.B@Chula.ac.th และ

        Thaiplants.RU@Sc.Chula.ac.th