ท่านเห็นอะไรบ้างในความรกชัฎ

     เดินสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ประกอบไปด้วย พืชชนิดต่างๆ มากมาย หลากหลายชนิด ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตที่สำคัญระบบนิเวศของป่าแห่งนี้ และยังช่วยเก็บความชุ่มชื้นให้แก่ผืนป่า เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย หรือใช้ในการดำรงชีวิตของสัตว์ พืชพันธุ์ทางธรรมชาติเหล่านี้บางชนิดยังมีสรรพคุณที่สามารถนำมาเป็นยารักษาโรคได้ เพื่อช่วยชีวิตมวลมนุษยชาติ ให้ดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้ แต่พืชบางชนิด อาจจะเป็นโทษต่อสิ่งมีชีวิตก็ได้ซึ่งเราควรจะได้ศึกษาต่อไป
ชื่อนิสิต นายนิรัตน์ ชนะประโคน

รหัส ID. 4335064430
คณะ แพทย์ศาสตร์


ป่าเสื่อมโทรมในฤดูแล้ง

     อย่างไรจึงเรียกว่า ป่าเสื่อมโทรม? เราเรียก seconding forest ว่าเป่าเสื่อมโทรด้วยหรือไม่? ถ้าเราจะนิยามตามกฎหมายป่าไม้ ก็ต้องบอกว่า ป่าเสื่อมโทรมคือ ป่าที่มีไม้ยืนต้นที่มี doh น้อยกว่า 30 cm. น้อยกว่า 2 ต้นต่อไร่ (ถ้าจำไม่ผิดนะครับ) ถ้าว่าตามนิยามนี้ป่าตามภาพนี้ก็เท่ากับป่าเสื่อมโทรม การนิยามความหมายนี้และจะเอาประโยชน์ในทางเศรษฐกิจเป็นตัวตั้ง มุ่งอยู่แต่ที่ไม้ยืนต้นซึ่งประโยชน์ในทางเศรษฐกิจไม่ใส่ใจกับ herb หรือ shnib หริ tree ที่ไม่มีค่าในทางเศรษฐกิจ แต่ป่าไม้ได้เอื้อประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อมนุษย์เท่านั้น ป่ายังเอื้อประโยชน์นานาประการให้แก่ทั้งสัตว์ป่า และมนุษย์ ใครจะรู้ได้ว่าป่าที่เรียกกันว่า ป่าเสื่อมโทรมจะมีพรรณไม้ที่เราได้รู้จักซุกซ่อนอยู่ ป่าเสื่อมโทรมในแง่หนึ่งยังเป็นสิ่งปกคลุมยังดิน แม้จะไม่หนาแน่นเท่าป่าที่ไม่เสื่อมโทรมก็ตามที่ชะลอการไหลของน้ำ ป้องกัน soil erosion ถ้าของในแง่นี้ ป่าเสื่อมโทรมในรูปก็ไม่ต่างไปจากป่าเต็งรังหลังไฟป่าเข้าไม่ใช่หรือ เพราะชั้นของต้นไม้ในป่าเต็งรังมีน้อยชั้น ถัดจาก dominont species
     อย่างเต็งรัง พะยอม ก็แทบจะลงมาถึงไม้พื้นล่างอย่างหญ้าเพิกเลย เมื่อเกิดไฟป่าก็เหมือนกับว่ามีแต่ไม้ใหญ่ๆ เท่านั้นที่ยังคงอยู่ ไม่ต่างอะไร (ในแง่สิ่งปกคลุมผิวดิน) กันกับป่าเสื่อมโทรมในรูปนัก
     นี่ยังไม่พูดถึงในประเด็น secondrny forest ถ้าเราปล่อยให้เกิด notuisl successionสักระยะเวลาหนึ่ง ป่าเสื่อมโทรมจะกลายเป็นป่าประเภทที่เรียกว่า ไม่เสื่อมโทรมได้หรือไม่ หรือถ้าเป็นฤดูฝน ป่าเสื่อมโทรมในภาพคงจะไม่แล้วอย่างในภาพเป็นแท้
     ประเด็นที่พูดถึงทั้งหมดคืออะไร? รัฐไทย ราชการไทย และจะมุ่งต่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะได้จากยังเป็นสำคัญ มุ่งไปที่เนื้อไม้ มากกว่าจะเล็งเห็นประโยชน์อย่างขึ้น โดยเฉพาะในเชิงความสำคัญต่อ ecosystem ถ้าเมืองไทยมีแต่ evergreen forest เขียวอยู่ชั่วนาตาปี คงเป็นที่ถูกใจของคนจำนวนมาก (รวมทั้งรัฐด้วยกระมัง) แต่ความสมดุลใน clorystem จะเป็นอย่างไร ใครตอบได้บ้าง แล้ว biodiversit ที่พูดกันนักหนาจะเป็นอย่างไร แหล่งที่อยู่ของสัตว์ป่าบางชนิดจะเกิดหายไป ฯลฯ ดังนั้น กันแต่ว่าเป็นป่าเสื่อมโทรเถิดครับ

ชื่อนิสิต นายธิบดี บัวคำศรี
รหัส ID. 4040083822
คณะ อักษรศาสตร์


ป่าเสื่อมโทรมในฤดูแล้ง

     จากภาพนี้แสดงให้เห็นถึงความอดทนของพืชคือ ทนต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงของอากาศได้ดี ไม่ว่าจะเป็น ลม ฝน แดด ความแห้ง
      แล้งอย่างในภาพ กล่าวคือ พืชสามารถปรับตัวเองเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าสิ่งมีชีวิตอื่น จะเห็นได้จากรูปคือ มีการผลัดใบตามฤดู ฤดูแล้งใบไม้จะร่วง เมื่อเข้าฤดูฝนก็จะฟื้นคืนสู่สภาพปกติที่มีใบไม้ชอุ่มได้ในภาพนี้อยู่ในฤดูแล้ง ซึ่งขาดแคลนน้ำอย่างมาก ส่งผลให้พืชไม่สามารถทำการสังเคราะห์แสงและอาหารให้ตนเองได้ ทำให้สภาพป่าดูแห้งแล้งไม่เขียวชอุ่ม สัตว์ที่เคยพึ่งพิงต้นไม้เหล่านี้ก็หายไปด้วย เช่น นก กระรอก ฯลฯ อย่างไรก็ตาม เมื่อฤดูแล้งผ่านไป พืชก็จะปรับสภาพตนเองไปในทางดีขึ้นได้ ระบบนิเวศน์ก็จะกลับมาเหมือนเดิม

ชื่อนิสิต นาย ธัชวีร์ สุนทราจารย์
รหัส ID. 3931272124
คณะ รัฐศาสตร์ ปี 4


ริมฝั่งน้ำ กาญจนบุรี

     จากภาพจะเห็นต้นไม้สีเขียวมากมายริมฝั่งน้ำ ทำให้รู้สึกสบายตาดูสวยงาม แสดงให้เห็นว่าริมฝั่งน้ำนี้มีความอุดมสมบูรณ์ดี จึงมีต้นมายที่เขียวชอุ่มมากมายขึ้นตามริมฝั่งน้ำ ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกว่า น้ำ และต้นไม้ มีความสัมพันธ์ที่เกื้อหนุนกัน ต้นไม้ก่อให้เกิดอากาศที่บริสุทธิ์ ฝนที่ตกต้องตามฤดูกาล แหล่งน้ำในที่ต่างๆ ก็ไม่ตื้นเขิน ส่วนน้ำก็เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของต้นไม้ หากขวดน้ำต้นไม้ก็ตาย และถ้าหากขาดต้นไม้ก็ไม่มีแหล่งน้ำ ต้นไม้ และน้ำ 2 สิ่งนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นของโลก เป็นสิ่งที่จะทำเกิดการเน่าเสีย สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ของมนุษย์ส่วนใหญ่จะทำลายสภาพแวดล้อมของโลก ทำให้ธรรมชาติเริ่มเสียสมดุล ผลเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์นี้ ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกและคิดว่ามันถึงเวลาแล้วที่มนุษย์เราต้องช่วยกันดูแลและรักษาให้โลกของเราดูสวยงามน่าอยู่ แต่ในปัจจุบันต้นไม้ต่างๆ ถูกตัดเป็นจำนวนมาก สัตว์ป่าต่างๆ ขาดที่อยู่อาศัย ฝนตกต้องไม่ตามฤดูกาล แหล่งน้ำในหลายๆ ที่แห้งแล้ง ตื้นเขิน บางแห่งก็เน่าเสีย ซึ่งตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ก็คือ มนุษย์ เพราะมนุษย์มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องตัดไม้ทำลายป่า เพื่อนำไปสร้างเป็นบ้านเรือน ซ้ำยังปล่อยของเสียสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงแหล่งน้ำ ทำให้รักษาธรรมชาติต่างๆ อย่างจริงจัง ไม่เช่นนั้นแล้ว โลกคงจะเป็นดาวเคราะห์ที่รกร้างว่างเปล่าไร้ซึ่งสิ่งมีชีวิตเหมือนกับดาวเคราะห์อื่นๆ
ชื่อนิสิต นายเปรมศักดิ์ จีระธัญญาสกุล

รหัส ID. 4335572931
คณะ สัตวแพทยศาสตร์