ปฏิบัติการเรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการผสมพันธุ์พืช

                                                             [หน้าแรก] [เนื้อหา]

           หัวข้อของปฏิบัติการ
     การผสมพันธุ์พืช
     วัสดุอุปกรณ์
     ขั้นตอนการดำเนินงานในการผสมพันธุ์พืช
     วิธีปฏิบัติในการผสมพันธุ์พืช
     ตัวอย่างผลการปฏิบัติการ
         - การผสมพันธุ์ดอกอัญชัน
         - การผสมพันธุ์ดอกแค
         - การผสมพันธุ์ถั่วเขียว

     การผสมพันธุ์พืช (Plant hybridization)                                                         [บน]
     การผสมพันธุ์พืชนั้น คือการนำ pollen จากดอกไม้ต้นพ่อพันธุ์ มาติดบน stigma ของดอกไม้แม่พันธุ์ ที่มีการป้องกันการผสมเกสรไว้ก่อนแล้ว  เมื่อผสมพันธุ์เสร็จเรียบร้อยคลุมดอกไม้ที่ผสมแล้วนั้นด้วยถุงกระดาษ เพื่อป้องกันการผสมเกสรที่อาจจะเกิดจาก pollen อื่นๆ ตามธรรมชาติ และผูกป้ายแสดงหลักฐานการผสมพันธุ์ไว้ที่โคนของก้านดอกนั้น ถึงกระดาษที่คลุมนี้จะเก็บออกเมื่อมีการผสมเกสรเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยสังเกตจากกลีบดอกร่วงหล่นหมด และขนาดของ ovary เจริญ
เติบโตขึ้นกว่าเดิม
     ในการผสมพันธุ์พืช สิ่งแรกคือ การจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ในการผสมพันธุ์ ต่อมาก็คือวิธีปฏิบัติในการผสมพันธุ์พืชที่ต้องการ หลังจากนั้นจะทำการบันทึกผลการปฏิบัติการที่ได้กระทำ  สุดท้ายมีสรุปและวิจารณ์ผลการทดลองเพื่อประมวลความรู้และผลที่ได้จากการทำทดลองนั้นอีกครั้งหนึ่ง

     วัสดุอุปกรณ์                                                                                                             [บน]
1.ตัวอย่างดอกไม้ (ในการทดลองนี้ใช้ดอกอัญชัน)
2.เข็มเขี่ย
3.ปากคีบปลายแหลม
4.ถุงกระดาษ
5.แผ่นป้ายบันทึกงานพร้อมเชือก

     ขั้นตอนการดำเนินงานในการผสมพันธุ์พืช                                                                 [บน]
1.การถ่ายละอองเกสร (pollination)
pollination -----> cross pollination การย้าย pollen จาก anther มายัง stigma  จากคนละดอก
                   -----> self pollination   การย้าย pollen จาก anther มายัง stigma  จากดอกเดียวกัน
2.การรวมตัวของเซลล์สืบพันธุ์ (fertilization)
fertilization -----> cross fertilization (sperm และ egg  จากคนละต้น)
                   -----> self fertilization (sperm และ egg จากดอกเดียวกัน)

     พืชที่สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศสามารถแบ่งออกเป็นพวก โดยอาศัยวิธีการ pollination 2 พวก คือ
   ก. Normally self - pollinated (พืชผสมตัวเอง) ได้แก่ ข้าว ฝ้าย ข้าวฟ่าง มะเขือเทศ  ข้าวสาลี  ถั่วเขียว  ถั่วเหลือง  ถั่วลิสง งา   มันฝรั่ง  (egg และ sperm  ผสมในดอกเดียวกัน)
     การที่เป็นพืชผสมตัวเองเนื่องจาก
     1.เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน
     2.เกสรทั้ง 2 ชนิดแก่พร้อมๆ กัน
     3.ดอกไม่บาน หรือบานหลังจากการผสมเกสรไปเรียบร้อยแล้ว เช่น ข้าวเจ้า  ข้าวสาลี  ข้าวบาเลย์  ข้าวโอ๊ต
   ข. Normally Cross - pollinated (พืชผสมข้าม) ได้แก่  ข้าวโพด ทานตะวัน ป่าน กล่ำปลี  กล่ำดอก  หอม แตงกวา แตงโม กล้วย  มะม่วง  มะละกอ  ส้ม องุ่น  มันเทศ  ฟักทอง  อ้อย (egg และ sperm ผสมจากดอกคนละต้น)
     การที่เป็นพืชผสมข้ามเนื่องจาก
     1.เป็น  monoecious plant  เช่น ข้าวโพด  มะพร้าว แตงกวา
     2.เป็น  dioecious plant เช่น หน่อไม้ฝรั่ง มะละกอ อินทผลัม ผักขม
     3.เกสรตัวผู้ และ เกสรตัวเมีย อยู่ในดอกเดียวกัน  แต่แก่ไม่พร้อมกัน
     4.โครงสร้างของดอกทำให้เกิดการผสมตัวเองลำบาก
     5.เกิดจากการผสมตัวเองไม่ได้ เพราะจะไม่ติดเมล็ด หรือ เป็นหมัน
         (self -sterility) self - incompatibility

3.เทคนิคการผสมพันธุ์พืช(Techniques of hybridization)
     3.1 Protection
           - ป้องกันการปนเปื้อน ของละอองเกสรตัวผู้จากที่อื่น (contamination)
           - ใช้กับพืชที่ผสมตัวเอง  ดอกที่ใช้เป็นพันธุ์แม่ หรือพันธุ์พ่อในการผสมข้าม
           -ป้องกันจนกว่าเกิดการผสมพันธุ์จะเสร็จและติดผลหรือเมล็ดแล้ว
 

 

     3.2 Emasculation
           - กำจัดเกสรตัวผู้ออกจากดอกของต้นที่ใช้เป็นพันธุ์แม่ในการผสมข้าม หรือในดอกเดียวกัน
           - กำจัดก่อนที่เกสรตัวผู้จะแตก
               วิธีทำ
           3.2.1 ใช้ปากคีบหรือกรรไกรดึงหรือตัดออก
           3.2.2 อบด้วยไอน้ำหรือจุ่มในน้ำร้อน T. 45- 48ฐC (1-10 นาที) ใช้น้ำเย็นจัด และ alc. ก็ได้
           3.2.3 ใช้เครื่องดูด (suction) เอาออก
     3.3.Pollination
           ทำในช่วงที่ยอดเกสรตัวเมียพร้อมจะรับการผสม (receptive) และเกสรตัวผู้แก่พอดี
โดยสังเกต  ------> ดอกเริ่มบาน
                 ------>  ยอดเกสรตัวเมียมีลักษณะเจริญเต็มที่
               วิธีทำ
           3.3.1 ใช้ปากคีบถึง anther มาเคาะที่ยอดเกสรตัวเมีย หรือแตะเบาๆ
           3.3.2 นำอับเกสรมาขยี้ให้แตก ใช้พู่กัน ปากคีบ ไม้จิ้มฟัน หรือแถบกระดาษเขี่ยมาป้ายที่ยอด
เกสรตัวเมีย
           3.3.3ใช้ถุงกระดาษครอบ stamen เขย่าและตบให้ละอองร่วงลงในถุง ไปโรยหรือใช้พู่กันป้ายที่ยอดเกสรตัวเมีย
           3.3.4นำต้นพันธุ์แม่ และพันธุ์พ่อมาวางไว้ไกล้ๆ กัน ใช้ถุงครอบให้พันธุ์พ่อสูงกว่าพันธุ์แม่

4.การผสมพันธุ์พืชมี 2 วิธีคือ
     4.1การผสมตัวเอง (Selfing)
     4.2การผสมข้าม (Crossing)

       4.1 การผสมตัวเอง (Selfing)
           4.1.1การผสมตัวเองของพืชพวกที่โดยธรรมชาติเป็นพืชผสมตัวเอง
           4.1.2การผสมตัวเองของพืชพวกที่โดยธรรมชาติเป็นพืชผสมข้าม
       4.2 การผสมข้าม
             การผสมข้ามของพืชที่ผสมตัวเองหรือผสมข้ามโดยธรรมชาติจะมีวิธีการทำนองเดียวกัน
           4.2.1 emasculation
           4.2.2 ป้องกันการเกิด contamination ใช้ถุงครอบดอก
           4.2.3  pollination

5.การบันทึก (Labelling)
  - 1’’ x 2’’  ขาว,  เหลือง
  - selfed หลังชื่อสายพันธุ์
  - พืชผสมข้าม เขียนชื่อสายพันธุ์,  แม่ขึ้นก่อน
  - บันทึก วันที่ emasculation และ pollination

6.การตรวจผลการผสม
  - 7 - 10 วัน ดูที่ ovary
7.การเก็บเกี่ยว (Harvesting)
  - เก็บผลหรือเมล็ดใส่ถุง  ควรเขียนรายละเอียดไว้
  - ผล -> ผ่าเอาเมล็ดออกทำความสะอาด ->  ผึ่งให้แห้ง
  - เอาเมล็ดเก็บในที่เย็น และแห้ง

     Artificial Pollination Systems
  -  การสร้าง genetic combination ใหม่
  -  ต้องมีการเลือกคู่ผสมที่เหมาะสม
  -  การฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ เชี่ยวชาญในด้านเทคนิค

     วิธีปฏิบัติในการผสมพันธุ์พืช                                                                                     [บน]
1.หาชื่อพื้นเมืองและชื่อวิทยาศาสตร์ของดอกไม้ที่นำมาศึกษา
2.ศึกษาลักษณะส่วนประกอบของดอกไม้ เช่น จำนวนกลีบเลี้ยง (sepal) จำนวน
กลีบดอก (petal)  จำนวนเกสรตัวผู้ (stamen) และจำนวนเกสรตัวเมีย (pistil) เป็นต้น พร้อมทั้งวาดรูปและ Label ส่วนต่างๆ ของดอกไม้นั้น เมื่อดอกไม้ตูมและเมื่อดอกไม้บาน
3.ทำ Cross pollination ตามขั้นตอนต่อไปนี้
   3.1 การกำจัดเกสรตัวผู้
         บันทึกวิธีการ วันที่ และเวลาที่ทำการกำจัดเกสรตัวผู้
   3.2 การถ่ายละอองเกสร
         บันทึกวิธีการ วันที่ และเวลาที่ทำการถ่ายละอองเกสร
   3.3 ศึกษาและบันทึกการเปลี่ยนแปลงของดอกไม้หลังจากผสมพันธุ์แล้วทุกวันเป็นเวลา 7 วัน
   3.4 บันทึกวันที่เก็บและลักษณะผลไม้เมื่อแก่เต็มที่

                 ชั้นต่างๆของดอกไม้สดที่ควรทราบ
           1.ปัตตาเวีย  สีชมพูขาว,  ชมพูเข้ม  ดอกช่อ
               ชั้นกลีบเลี้ยง:5 กลีบเชื่อมกัน
               ชั้นกลีบดอก:5 กลีบแยกกัน
               ชั้นเกสรตัวผู้:ไม่มี (\ เป็นดอกแยกเพศ)
               ชั้นเกสรตัวเมีย:มี 1 อันที่ปลายมี stigma 2 แฉก
           2.เข็ม
               ชั้นกลีบเลี้ยง:5 กลีบแยกกัน
               ชั้นกลีบดอก:4 เชื่อมกันแบบ Salver form
               ชั้นเกสรตัวผู้:มี 4 anther อยู่สลับกับ corolla lobe
               ชั้นเกสรตัวเมีย:มี 1 อัน มี stigma 2 แฉก, ovary ฝัง (inferior ovary)
           3.เล็บมือนาง
               ชั้นกลีบเลี้ยง:5 กลีบแยกกัน
               ชั้นกลีบดอก:มี 2 ชั้น ชั้นนอก 5  ชั้นใน 3-7 กลีบเชื่อมกัน
               ชั้นเกสรตัวผู้:มี 10 stamen ติดสลับกับ corolla 5  ติดตรงข้ามกับ corolla 5
               ชั้นเกสรตัวเมีย:มีเกสรตัวเมีย 1 อันเป็น superior ovary,  axile placentation  2 locule

     ตัวอย่างผลการปฏิบัติการ                                                                                        [บน]
1.ดอกที่ศึกษา "อัญชัน"
  ชื่อพื้นเมือง  อัญชัน
  ชื่อวิทยาศาสตร์  Clitoria ternatea Linn.
2.ลักษณะส่วนประกอบของดอก
  จำนวนกลีบเลี้ยง  5 กลีบ
  จำนวนกลีบดอก 3  กลีบ
  จำนวนเกสรตัวผู้  6 อัน
  จำนวนเกสรตัวเมีย 1 อัน

     อัญชัน
   Clitoria ternatea Linn.

วงศ์                 Leguminosae
ชื่อสามัญ         Blue Pea, Butterfly Pea
ชื่ออื่นๆ             แดงชัน (เชียงใหม่)  เอื้องชัน (ภาคเหนือ)
Description   ไม้เถา ลำต้น  มีขนนุ่ม  ใบเป็นช่อยาว 6-12 ซม. มีใบย่อยรูปไข่ 5 - 7 ใบดอกมีทั้ง
                       ดอกลาและดอกซ้อน  สีน้ำเงิน ฟ้า  ม่วง  หรือขาว ออกเดี่ยว ตามซอกใบคล้าย
                       ดอกถั่ว กลีบดอก 5 กลีบ   ขนาดไม่เท่ากัน รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ยาว 2.5 - 3.5
                       ซม. ผลเป็นฝักแบน กว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 8 ซม.เมล็ดจำนวนมาก
นิเวศวิทยา       ถิ่นกำเนิดเป็นพันธุ์ไม้ในเขตร้อนขึ้นได้ทั่วไป
การขยายพันธุ์   โดยการเพาะเมล็ดประโยชน์ ดอกใช้แต่งสีขนม ใช้ทดสอบความเป็นกรด - ด่าง
                       แทนกระดาษ litmus     น้ำคั้นจาก ดอก  ทน  ทำให้ผมขึ้นและคิ้วดก ซึ่งได้ผลในเด็ก
ฤดูกาล             ออกดอกออกดอกตลอดปี
การปลูก           อัญชันมีวิธีการปลูกง่ายและขึ้นง่าย ไม่ต้องการดูแลรักษามากนัก มีวิธีการปลูกโดย
                       การนำต้นกล้าจากการเพาะเมล็ด มาปลูกลงแปลงปลูก และบริเวณใกล้แปลงปลูก
                       ควรมีรั้ว หรือไม้ระแนงเพื่อให้เถาอัญชันเลื้อยพาด หรือยึดเกาะ เพื่อการทรงตัวได้
การดูแลรักษา
แสง
                อัญชันเป็นไม้กลางแจ้งที่มีความต้องการแสงพอสมควร แต่ก็ไม่ถึงกับต้องการแสง
                       จัดมาก
น้ำ                   ต้องการน้ำปานกลาง การรดน้ำจำต้องไม่ถึงกับแฉะ รดน้ำแต่พอชุ่มก็พอ และควร
                       รดน้ำวันละ 2 ครั้ง ในช่วงเช้าและช่วงเย็น
ดิน                   อัญชันจะขึ้นได้ดีในดินร่วนปนทราย ที่มีการระบายน้ำได้ดี
ปุ๋ย                   ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกผสมกับดินปลูก
โรคและแมลง   ไม่พบโรคและแมลงที่สำคัญ

     การผสมพันธุ์อัญชัน                                                                                                 [บน]
 - เริ่มต้นด้วยการกำจัดเกสรตัวผู้ (Emasculation) เพื่อเป็นการป้องกันการผสมเกสรภายในดอกไม้ดอกเดียวกัน
 - ครอบดอกที่กำจัดเกสรตัวผู้แล้วเพื่อเป็นการป้องกันการปนเปื้อนจากละอองเกสรอื่นด้วยถุงกระดาษฝ้า และดอกที่จะใช้เป็นพ่อพันธุ์ก็ครอบถุงกระดาษไว้ด้วยเช่นกัน
 - ในการทำการถ่ายละอองเกสร (Pollination) ให้นำอับละอองเกสรที่พึ่งแตกมาเคาะเบาๆ บนยอดเกสรตัวเมีย
 - เมื่อเสร็จแล้วจึงครอบดอกที่ผสมเกสรแล้วถ้วยถุงกระดาษและผูกป้ายที่ก้านดอก
 - หลังจากการผสมเกสรแล้วจะเห็นการติดฝัก
3.ทำ Cross pollination
     3.1การกำจัดเกสรตัวผู้
         ใช้วิธี Emasculation
         ทำเมื่อวันที่ 
     3.2การถ่ายละอองเกสร
         ใช้วิธี Pollination
     3.3การเปลี่ยนแปลงของดอกไม้หลังจากผสมพันธุ์ (รวม 7 วัน)



     3.4ผลไม้เมื่อแก่เต็มที่ ลักษณะฝักยาวสีน้ำตาลอ่อน

4. ผลการทดลองการผสมพันธุ์
     ในการทดลองนี้ทางกลุ่มได้เลือกทำการผสมพันธุ์ดอกอัญชัน โดยเป็นการ Cross Pollination ระหว่าง
         ดอกตัวผู้=ดอกอัญชันสีน้ำเงิน กลีบซ้อน
         ดอกตัวเมีย=ดอกอัญชันสีขาว กลีบลา
     เนื่องจากเป็นการศึกษา  2 ลักษณะ จึงเป็นการทำ Dihybrid cross
     Genotype ที่เป็นไปได้ สำหรับการทดลองนี้ มีดังต่อไปนี้
     ให้ W_แทนดอกสีน้ำเงิน และเป็น Dominant ต่อ ww แทนดอกสีขาว
           L_แทนลักษณะกลีบซ้อน และเป็น Dominant ต่อ ll แทนกลีบลา
        

P                            ดอกตัวเมีย              x                ดอกตัวผู้
                       ดอกสีขาว   กลีบลา                    ดอกสีน้ำเงิน   กลีบซ้อน
                               WWLL                 x                    wwll
                               WwLL                   x                   wwll
                               WwLl                   x                    wwll
                               WWLl                   x                     wwll

     ใน genotype แต่ละแบบ ก็จะให้ผลแตกต่างกัน กล่าวคือ
     ในแบบแรก  WWLL   x   wwll
           จะได้รุ่น F1     WwLl   ทั้งหมด
     ในแบบที่ 2  WwLL x  wwll
           จะได้รุ่น F1     WwLl : wwLl เป็นอัตราส่วน 1:1
     ในแบบที่ 3  WwLl   x   wwll
           จะได้รุ่น F1     WwLl : Wwll : wwLl : wwll  เป็นอัตราส่วน   1: 1:   1:    1
     ในแบบที่ 4  WWLl  x  wwll
           จะได้รุ่น F1     WwLl:Wwll  เป็นอัตราส่วน 1:1

5. สรุปและวิจารณ์ผล
     1.ลักษณะและส่วนประกอบของดอกอัญชัน
           1.1ดอกไม้ที่ศึกษาจำนวน 1 ชนิด
           1.2เป็นดอกไม้พวก  Complete flower
     2.ดอกไม้ที่ทำการศึกษาส่วนประกอบและเวลากระจายของ Pollen จาก Anther
           2.1 ชื่อพื้นเมือง  อัญชัน
           2.2 ชื่อวิทยาศาสตร์  Clitoria  ternatea  Linn.
           2.3 ลักษณะการออกของดอกไม้จะออกเฉพาะตามกิ่ง
           2.4 ชนิดของดอกไม้เป็นแบบ ออกดอกเดี่ยว (Solitary Flower)
           2.5 ส่วนประกอบของดอกไม้
                 2.5.1กลีบเลี้ยง (sepal)
                         - มี sepal จำนวน 5 กลีบ
                         - sepal จะติดกัน
                         - sepal มีสีเขียวอ่อน
                 2.5.2กลีบดอก (petal)
                         - มี petal จำนวน 3 กลีบ
                         - petal มี 2 ชั้น
                         - petal แยกกัน
                         - petal มี 2 สีคือ สีม่วงและสีขาว
                 2.5.3เกสรตัวผู้ (stamen)
                         - มี stamen จำนวน 6 อัน
                         - stamen ติดบน receptacle
                         - stamen มี filament แยกกัน
                         - filament ยาวไล่เลี่ยกันทั้งหมด
                         - Pollen sac แตกหลังดอกไม้บาน
                 2.5.4เกสรตัวเมีย (Pistil)
                         - มี pistil จำนวน 1 อัน
                         - เป็นแบบ inferior ovary
                         - ใน ovary มี 1 ovule
     3.ดอกอัญชันที่ทำการ Cross pollination
           3.1ลักษณะทางกรรมพันธุ์ที่ทำการผสมพันธุ์กัน
                 3.1.1ลักษณะของต้น Female เป็นดอกสีขาว
                 3.1.2ลักษณะของต้น Male เป็นดอกสีม่วง
           3.2การทำการกำจัดเกสรตัวผู้
                 ทำก่อนดอกไม้บาน 1 วัน
           3.3การถ่ายละอองเกสร
                 3.3.1Pollen ที่ใช้ในการถ่ายละออกเกสรเป็น pollen ของดอกบานใหม่ๆ
                 3.3.2เวลาถ่ายละอองเกสร 17.00 น.
           3.4การเปลี่ยนแปลงของดอกไม้หลังการผสมพันธุ์
                 3.4.1ส่วนประกอบของดอกที่เหลืออยู่คือ sepal
                 3.4.2ลักษณะของฝัก
                         - เป็นฝักแห้ง
                         - ลักษณะยาว
                         - ขนาดกว้างโดยเฉลี่ย 1 ซม. ยาวประมาณ 8.8 ซม.
                         - อายุการเจริญเติบโตของฝัก 7-14 วัน

ตัวอย่างการถ่ายละอองเกสรของพืชชนิดอื่น เช่น ดอกแค
     การผสมพันธุ์ดอกแค                                                                                              [บน]
 1.แคมีการผสมเกสรแบบผสมตัวเอง (self-pollinate) ดอกออกเป็นช่อ
 2.ดอกแคเป็นดอกสมบูรณ์เพศ  มีกลีบดอก 5 กลีบ  เกสรตัวผู้ 10 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน
 3.ขั้นตอนแรกของการผสมเกสรคือการกำจัดเกสรตัวผู้ (emasculation) ในดอกแคจะทำในตอนเย็น ก่อนที่ดอกจะบานในวันรุ่งขึ้น โดยเลือกดอกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในช่อดอก ซึ่งจะเป็นดอกที่บานในวันต่อมา
 4.ในช่อดอกที่จะทำการผสมเกสร ให้ตัดดอกที่บานแล้วและดอกตูมอื่นๆ ที่อยู่ในช่อดอกเดียวกันทิ้งไ ปให้เหลือแต่ดอกที่ต้องการจะผสมเกสร (หรือดอกที่แน่ใจว่าจะไม่บานแล้วทำให้เกิด contamination ของละอองเกสร)
 5.ใช้ปากคีบปลายแหลมแยกกลีบดอกออก
 6.ดึงเกสรตัวผู้ทั้ง 10 ออกอย่างเบาๆ
 7.ดอกแค หลังจาก emasculation แล้ว
 8.ครอบช่อดอกที่กำจัดเกสรตัวผู้แล้วเพื่อเป็นการป้องกันการปนเปื้อนจากละอองเกสรอื่นด้วยถุงกระดาษฝ้า ส่วนดอกที่จะใช้เป็นพันธุ์พ่อก็ครอบถุงกระดาษไว้ด้วยเช่นกัน
 9.ในวันรุ่งขึ้นทำการถ่ายละอองเกสร (pollination) โดยนำอับละอองเกสรที่พึ่งแตกมาเคาะเบาๆ บนยอดเกสรตัวเมีย
 10.ครอบดอกที่ผสมเกสรแล้วด้วยถุงกระดาษและผูกป้ายที่ก้านช่อดอก
 11.หลังการผสมเกสรจะเห็นการติดฝัก
 12.ฝักแก่ของแค

     การผสมพันธุ์ถั่วเขียว ( ด้วยความเอื้อเฟื้อจาก รศ.สุมิตรา คงชื่นสิน )                            [บน]



     การผสมพันธุ์ถั่วเขียว
 1.ถั่วเขียวเป็นพืชฤดูเดียว มีการผสมเกสรแบบผสมตัวเอง (self-pollinate) ดอกออกเป็นช่อหลังจากปลูกด้วยเมล็ดแล้วประมาณ 35 วัน



 2.ดอกถั่วเขียวเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบดอก 5 กลีบ  เกสรตัวผู้ 10 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน

 

 
 3.ขั้นตอนแรกของการผสมเกสรคือการกำจัดเกสรตัวผู้ (emasculation) ในถั่วเขียวจะทำในตอนเย็นก่อนที่ดอกจะบานในวันรุ่งขึ้น โดยเลือกดอกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในช่อดอกซึ่งจะเป็นดอกที่จะบานในวันต่อมา



 4.ในช่อดอกที่จะทำการผสมเกสร ให้ตัดดอกที่บานแล้วและดอกตูมอื่นๆ ที่อยู่ในช่อดอกเดียวกันทิ้งไปให้เหลือแต่ดอกที่ต้องการจะผสมเกสร (หรือดอกที่แน่  ใจว่าจะไม่บานแล้วทำให้เกิด contamination ของละอองเกสร)



 5.ใช้ปากคีบปลายแหลมแยกกลีบดอกออก



 6. ดึงเกสรตัวผู้ทั้ง 10 ออกอย่างเบาๆ



 7. ดอกถั่วเขียวหลังจาก emasculation แล้ว



 8.  ครอบช่อดอกที่กำจัดเกสรตัวผู้แล้วเพื่อเป็นการป้องกันการปนเปื้อนจากละอองเกสรอื่นด้วยถุงกระดาษฝ้า ส่วนดอกที่จะใช้เป็นพันธ์พ่อก็ครอบถุงกระดาษไว้ด้วยเช่นกัน



 9.ในวันรุ่งขึ้นทำการถ่ายละอองเกสร (pollination) โดยนำอับละอองเกสรที่พึ่งแตกมาเคาะเบาๆ บนยอดเกสรตัวเมีย



 10. ครอบดอกที่ผสมเกสรแล้วด้วยถุงกระดาษและผูกป้ายที่ก้านช่อดอก
 


 11. ฝักแก่ของถั่วเขียว

     การผสมพันธุ์พืช