![]() |
![]() |
![]() |
|
![]() |
|||
หัวข้อของบทเรียน บท11เรื่องมนุษย์พันธุศาสตร์ (Human Genetics) การศึกษาพันธุกรรมของมนุษย์
[บน]
มนุษย์พันธุศาสตร์ประยุกต์ [บน] ยีน ยีน คือสิ่งที่ควบคุมลักษณะการแสดงออกของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ ซึ่งอยู่บนโครงสร้างที่เรียกว่า DNA DNA ประกอบด้วยหน่วยย่อยเล็ก ๆ 2 สาย พันเป็นเกลียวคู่ การโคลน และ หลักการโคลนนิง การโคลน หมายถึง การสืบพันธุ์หรือแพร่พันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตที่ได้จะมีลักษณะทางพันธุก รรมเหมือนเดิมทุกประการ มนุษย์รู้จักการโคลนมานานแล้วไม่ว่าจะเป็นการเพาะชำ การเลี้ยงเนื้อเยื่อซึ่งทำในพืช แม้แต่ฝาแฝดก็ถือเป็นการโคลนแบบหนึ่งที่เกิดได้ตามธรรมชาติ แต่ที่เป็นข่าวฮือฮาดังไป ทั่วโลกคงไม่พ้นเรื่องของ ดอลลี่ แกะที่ได้รับการโคลนโดยใช้เซลล์ร่างกายของแกะต้นแบบที่โตแล้ว ส่วนหลักการโคลนนิง คือ วิธีการใด ๆ ที่ทำให้นิวเคลียสของเซลล์สิ่งมีชีวิตต้นแบบเกิดการแบ่งตัว แล้ว กลายเป็นสิ่งมีชีวิตขึ้นใหม่ ที่ยังคงลักษณะพันธุกรรมเหมือนเดิม(มียีนเหมือนตัวต้นแบบทุกประการ) มนุษย์กับโคลนนิง การโคลน ไม่ว่าจะทำในพืชหรือสัตว์ จุดประสงค์คือการสร้างสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะ(ยีน)เดิม คงไม่ใช่เ รื่องยากหากจะเลือกลักษณะของสิ่งมีชีวิต แล้วเพิ่มจำนวนขึ้นตามที่ต้องการ โคลนนิงมีประโยชน์ที่ชัดเจนมากในด้านการเกษตร เพราะสามารถเลือกพันธุ์พืช สัตว์ที่ดีที่สุดไว้ รว มไปถึงทางการแพทย์ในการผลิตยา แล้วมนุษย์ทำโคลนนิงได้หรือไม่ ? ข้อสงสัยที่ตามมา มีความมั่นใจเพียงใดว่ามนุษย์ที่ได้จะไม่ผิดปกติ และใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความผิดปกติที่เกิดขึ้น * อายุจริงของมนุษย์ดังกล่าวจะเป็นเช่นไร หากนำเซลล์คนอายุ 30 ปีมาโคลน จะมีอายุเริ่มต้นที่ 30 ปี หรือเริ่มต้นใหม่ตั้งแต่เริ่มโคลน * มนุษย์ที่เกิดจากการโคลนจะมีฐานะทางกฎหมายเป็นเช่นไร THE HUMAN GENOME PROJECT [บน] เป็นโครงการชีวิทยาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด โครงการนี้ได้ก่อตั้งขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1990 เพื่อหาลำดับยี นของมนุษย์กว่า 300 ล้านเบสซึ่งต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมาก คาดว่าจะใช้ระยะเวลาดำเนินงาน 15 ปี ได้รับการสนับสนุนจากนานาประเทศ กว่า 18 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล แคน นาดา จีน เดนมาร์ก สหภาพยุโรป ฝรั่งเศส เยอรมัน อิสราเอล อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลี แมกซิโก เนเธอร์แลนด์ รัสเซีย สวีเดน อังกฤษ และอเมริกา โครงการทำแผนที่พันธุกรรมมนุษย์ ซึ่งกว่าจะได้มาก็หืดขึ้นคอ เนื่องจากการเกิดความขัดแย้งระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในความพยายามที่จะหากุญแจไขสู่ความลับในเซลล์ของมนุษย์ ที่มีหน่วยย่อ ย (sub unit) ของดีเอ็นเออยู่ถึง 3,100 ล้านหน่วย ภายในดีเอ็นเอยังประมาณการว่าจะมีพันธุกรรมประมาณ 50,000 หน่วย ซึ่งจะเป็นส่วนที่แสดงการสืบทอดจากพ่อแม่ และเป็นตัวบอกว่าเซลล์ต่างๆ จะทำงานอย่างไรตลอดชีวิตของคนเรา การขาดหน่วยพันธุกรรมหรือการมีหน่วยพันธุกรรมที่ผิดแผกแตกต่างจากปกติจะเป็นตัวนำไปสู่โรค ดร.ฟรานซิส คอลลินส์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยหน่วยพันธุกรรมมนุษย์(Human Genome Research Institute ) กล่าวว่า "เราได้มุ่งพายเรือแข่งมาตามลำน้ำที่มีช่องแคบๆ เพื่อพยายามที่จ ะจัดเรียงลำดับของหน่วยพันธุกรรมให้เรียบร้อย บัดนี้เราได้พายเรือผ่านปากน้ำเข้าสู่มหาสมุทรแล้ว งานวิจัยและผลการแพทย์ที่จะเกิดขึ้นจากนี้ไป มีมากมายไม่จำกัดเลย" การค้นพบครั้งนี้ทำให้รู้จักยีนต่าง ๆ กลไกการเกิดโรค การผลิตยาที่มีคุณภาพเพื่อให้มนุษย์มีสุขภาพแข็งแรงและชีวิตยืนยาวขึ้น สามารถรู้ว่ายีนใดผิดปกติและมีโอกาสเกิดโรคได้มากน้อยเพียงใด การรู้ ล่วงหน้าเช่นนี้ทำให้มีการคิดหาวิธีป้องกันไม่ให้โรคมาถึง แต่ถ้าความผิดปกติที่เกิดขึ้นไม่สามารถหาทางแก้ไขได้ การรับรู้ชะตากรรมล่วงหน้าคงสร้างความลำบากใจไม่น้อยแก่ผู้ที่กำลังเผชิญหน้ากับมัน คู่ รักที่กำลังจะแต่งงาน บริษัทประกันควรรับรู้ข้อมูลเหล่านี้หรือไม่ ยีนบำบัด ( Gene therapy ) เป็นที่ทราบกันดีว่าโรคที่ถ่ายทอดมางพันธุกรรรมไม่สามารถบำบัดรักษาได้ แต่ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถใช้เทคนิค ยีนบำบัด(Gene therapy) โดยการแต่งเติมยีนที่ผิดปกติให้เป็นยีนที่ปกติ ซึ่งต้องอาศัยเทคนิคทางพันธุวิศวกรรม โรคทางพันธุกรรมจะสามารถบำบัดได้ถ้าเซลที่ได้รับการเติมแต่งยีนนั้นเพิ่มจำนวนขึ้นได้ โรค cystic fibrosis, โรคกล้ามเนื้อแขนขาลีบแบบดูเชน (Duchenne muscular disorder) รวมถึงความผิดปกติของระบบเลือดและภูมิคุ้มกันของร่างกาย ก็ให้ผลที่น่าพอใจจากการใช้เทคนิคดังกล่าว ขณะนี้มีงานวิจัยใหม่ ๆ เกี่ยวกับการใช้ยีนกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นเลือดในขาที่อุดตันให้กลับมาไหลเวียนได้ตามปกติ และจะนำไปสู่การรักษาโรคหัวใจในที่สุดความสำเร็จของเทคนิคนี้ก่อให้เกิดปร ะโยชน์ทางด้านสุขภาพเป็นอย่างมาก แต่เทคนิคยีนบำบัดยังมีปัญหาในเชิงเทคนิค ศีลธรรม และจริยธรรมมากมาย : - ยีนที่เติมแต่งเข้าไปสามารถทำงานและถ่ายทอดตลอดชั่วชีวิตเราได้หรือไม่ - เซลที่ไม่สามารถแบ่งตัวได้ เช่น เซลประสาท ยังคงไม่สามารถใช้เทคนิคนี้ได้ - เป็นไปได้หรือไม่ที่จะทดลองกับเซลสืบพันธุ์มนุษย์เพื่อแก้ไขโรคพันธุกรรมในรุ่นต่อ ๆ ไป นั่นหมายถึ งเรากำลังก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการของตัวเอง วิธีทำ 1. ศึกษารายละเอียด มนุษยพันธุศาสตร์ ได้แก่ โรคพันธุกรรม ต่าง ๆ การศึกษาพันธุกรรมของมนุษย์ โรคทางพันธุกรรมหลายชนิดเกิดจากความผิดปกติของอัลลีลบนโครโมโซม และการศึกษาคาริโอไทป์ของคนปกติและคนที่เป็นโรคทางพันธุกรรม เป็นต้น 2. มนุษย์พันธุศาสตร์ประยุกต์ ,THE HUMAN GENOME PROJECT และ ยีนบำบัด ( Gene therapy ) 3. ศึกษาพันธุศาสตร์ของหมู่เลือด ABO ในกลุ่มประชากร และครอบครัว (พ่อ แม่ ญาติ พี่น้อง ) ของนิสิ ตที่เรียนวิชา 2305262 ปฏิบัติการพันธุศาสตร์ทั่วไป ทำการบันทึกข้อมูล ชนิดของหมู่เลือดลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ( โปรแกรม excel ) วิเคราะห์ผล และนำไปคำนวณ หาความถี่ ของ gene และ genotype หมู่เลือด ABO ทำรายงานส่ง |