![]() |
![]() |
|||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||||
บท10 เรื่อง เซลล์พันธุศาสตร์ (Cytogenetics) หัวข้อของบทเรียน การเปลี่ยนแปลง หรือ ความผิดปกติของโครงสร้างและจำนวนโครโมโซม อาจจะพบเห็นโดยทำการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมได้ในระดับเชลล์ ซึ่งการศึกษาแบบนี้เรียกว่าเซลล์พันธุศาสตร์ โดยมีรายละเอียดดังนี้
นอกจากนี้ยังมีการเกิด deletion ของโครโมโซมที่ไม่มีเซนโตรเมียร์ (centromere) ทำให้เกิดเป็นโครโมโซมวงแหวน (ring chromosome) ภาพที่ 1แสดงการเกิด deletion และ ring chromosome ก.ปลายแขนโครโมโซมหัก ได้โครโมโซมชิ้นเล็ก และหายไป ข.โครโมโซมหัก 1 แห่ง ภายในโครโมโซม เป็นชิ้นส่วนเล็กๆ และจะหายไป ค.โครโมโซมหัก 2 แห่ง และปลายทั้ง 2 ข้างมาติดกันเป็น ring chromosome ส่วนของโครโมโซมที่ได้ถ้าเป็น acentric chromosome คือไม่มี centromere จะหายไปจากนิวเคลียสในระหว่างที่มีการแบ่งเซลล์ 1.2การมีบางส่วนของโครโมโซมเพิ่มขึ้นจากเดิม (Duplications) [บน] Duplication หมายถึง โครโมโซมที่ผิดปกติ อันเกิดจากการที่มีส่วนหนึ่งของโครโมโซมเพิ่มเติมขึ้ นมาจากสภาพปกติ ส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นมานี้เรียกว่า duplicated segment ในสิ่งมีชีวิตที่มีจำนวนโครโมโซมเป็น diploid นั้น ยีนแต่ละยีนย่อมอยู่ในสภาพเป็นคู่หรือ 2 ชุด ถ้าหากยีนนั้นเกิดมี 3 ชุด ส่วนที่เกิน มานั้นเรียกว่า duplication
ผลของการเกิด duplication ที่จะมีผลต่อการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์นั้น โดยทั่วไปแล้ว duplication กระทบกระเทือนต่อความสามารถในการดำรงชีวิตของสัตว์และพืชน้อยกว่า deficiency เ พราะปรากฏว่าส่วนของโครโมโซมที่เกิด duplicate ขึ้นนั้น ถึงแม้จะมีความยาวพอสมควร ก็มิได้ทำให้สิ่งมีชีวิตได้รับอันตรายถึงชีวิตเหมือนอย่างพวก deficiency อย่างไรก็ตาม tandem duplication อาจ ทำให้ phenotype ของสิ่งที่มีชีวิตเกิดเปลี่ยนแปลงเป็นชนิดใหม่ๆขึ้นได้ ดังเช่น ลักษณะ Bar Eye ของแมลงหวี่อันเกิดจาก effect ของ duplication การเปลี่ยนแปลงของ phenotype อันเกิดขึ้นเนื่องจาก บนโครโมโซมเกิดมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของยีนที่ควบคุม phenotype นั้น effect ชนิดนี้เรียกว่า position effect
1.3 การหักและต่อสลับที่ของบางส่วนของโครโมโซมเดียวกัน (Inversions) [บน] Inversion หมายถึง โครโมโซมที่ผิดปกติ อันเกิดขึ้นเนื่องจากโครโมโซมนั้นเกิดหัก และเมื่อโครโมโซมส่วนที่หักนั้นมาเชื่อมติดกับอันเดิม การเชื่อมติดสลับคนละด้านกันขึ้น ดังแสดงในภาพที่ 4
ภาพที่ 4 แสดงการเกิด Inversion Inversion อาจเกิดขึ้นในขณะที่โครโมโซมเกิดพันกันเป็นห่วง (loop) และเกิดหักตรงจุดที่พันกันนั้น และเมื่อส่วนที่หักจะเชื่อมติดกัน อาจเชื่อมผิดทางกันได้ Inversion นั้นจำแนกออกได้ 2 ชนิดด้วยกันคือ 1.3.1Paracentric inversion เป็น inversion ชนิดที่ส่วนของโครโมโซมที่กลับหัวหางกันนั้น ไม่ได้รวม centromere เข้าไว้ด้วย 1.3.2Pericentric inversion เป็น inversion ชนิดที่ส่วนของโครโมโซมที่กลับหัวหางกันนั้นรวมเอา centromere เข้าไว้ด้วย ดู ภาพที่ 5 และ 6
1.4การสับเปลี่ยนของโครโมโซมคนละคู่ (Translocation) [บน] หมายถึงการโยกย้ายหรือแลกเปลี่ยนส่วนกันของโครโมโซมที่ไม่ใช่คู่เหมือน (non-homologous chromosomes) เกิดจากโครโมโซมเกิดหักแล้ว ส่วนที่หักไปต่อกับส่วนของโครโมโซมอีกแท่งที่มิได้เป็นคู่กัน ทรานสโลเคชั่นจะตรงข้ามกับครอซซิ่งโอเวอร์ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนส่วนของโครโมโซมระหว่างโครโมโซมคู่เหมือน อาจแบ่งทรานสโลเคชั่นออกเป็น 2 ประเภท ตามจำนวนแท่งของโครโมโซม ที่แลกเปลี่ยนส่วนกัน คือ ซิมเพิล ทรานสโลเคชั่น (simple translocation) หมายถึงการโยกย้ายส่วนของโครโมโซมจากคู่ห นึ่งไปยังอีกคู่หนึ่งเพียงฝ่ายเดียวและรีซิโพรคัลทรานสโลเคชั่น (reciprocal translocation) ซึ่งหมายถึงการสลับส่วนต่อของโครโมโซมระหว่างโครโมโซม 2 คู่ แต่ละประเภทนี้ยังแบ่งย่อยเป็น 2 ชนิด เช่น ป ระเภทหลังแบ่งเป็นเฮเทอโรไซกัส-รีซิโพรคัล-ทรานสโลเคชั่น (heterozygous reciprocal translocation) ซึ่งหมายถึงการแลกเปลี่ยนส่วนของโครโมโซมเพียงแท่งเดียวในแต่ละคู่และโฮโมไซกั ส-รีซิโพรคัลทรานสโลเคชั่น (homozygous reciprocal translocation) ซึ่งหมายถึงการแลกเปลี่ยนส่วนของโครโมโซมทั้ง 2 แท่งของทั้ง 2 คู่
โดยทั่วไปรีซิโพรคัล ทรานสโลเคชั่นแบบเฮเทอโรไซกัสจะเกิดขึ้นบ่อยกว่าแบบโฮโมไซกัส ซึ่งแบบหลังนี้การเข้าคู่กันของโครโมโซมในระหว่างการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสจะแนบสนิทตามความยาวปกติ แต่แบบแรกนั้นการเข้าคู่กันของโครโมโซมจะต้องอยู่ในรูปกากบาทจึงจะทำให้ทุกส่วนของโครโมโซมที่เหมือน (homologous) กัน เข้าคู่กันได้สนิท ดังนั้น ถ้าเซลล์ที่เกิดทรานสโลเคชั่นแบบนี้เป็นเซลล์เพศ เซลล์สืบพันธุ์ที่ได้จะเกิดขึ้นได้ 2 กรณี ดังต่อไปนี้
รูปที่7 ชนิดต่างๆ ของทรานสโลเคชั่น
รูปที่ 8 แสดงการเข้าคู่กันของโครโมโซมในระยะโพรเฟส-1 และประเภทของเซลล์สืบพันธุ์ที่ควรจะเกิดขึ้นหลังการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส I เมื่อเซลล์สืบพันธุ์นั้นเป็นเฮเทอโรไซกัส-รีซิโพรคัลทรานสโลเคชั่น 1.4.1 เกิดจากโครโมโซมที่อยู่สลับหรืออยู่ด้านทแยง (alternate) เคลื่อนไปยังขั้วเซลล์เดียวกันทำให้เซลล์สืบพันธุ์ทุกเซลล์มีส่วนของโครโมโซมครบถ้วนโดยที่ครึ่งหนึ่งของจำนวนเซลล์สืบพันธุ์จะมีส่วน ของโครโมโซมที่เกิดทรานสโลเคชั่น อีกครึ่งของจำนวนเซลล์สืบพันธุ์มีโครโมโซมปกติ และเนื่องจากเซลล์สืบพันธุ์ทุกเซลล์มีส่วนของโครโมโซมครบถ้วน (มียีนครบ) ดังนั้น ทุกเซลล์จึงปกติหรือเจริญพันธุ์ได้ (fertile) หรือสามารถผสมติดได้ 1.4.2เกิดจากโครโมโซมที่อยู่ประชิดหรือถัดจากกัน (adjacent) เคลื่อนไปยังขั้วเซลล์เดียวกัน ซึ่งยังอาจแบ่งเป็น 2 กรณีย่อยคือ โครโมโซมที่อยู่ด้านซ้ายแยกออกจากที่อยู่ด้านขวา (adjacent I) และก รณีที่โครโมโซมที่อยู่ด้านบนแยกออกจากที่อยู่ด้านล่าง (adjacent II) ซึ่งจะเห็นว่าเซลล์สืบพันธุ์ทุกเซลล์จะมีบางส่วนของโครโมโซมที่เกินหรือขาดไป (duplication deficiency) ทุกเซลล์ เซลล์เหล่านี้จึงไ ม่เจริญพันธุ์ (non-fertile) หรือเป็นหมัน (sterile) จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นจึงทำให้สิ่งมีชีวิต (โดยเฉพาะพบในพืชหลายชนิด) ที่มีเซลล์เพศที่มีเฮเ ทอโรไซกัส-รีซิโพรคัลทรานสโลเคชั่นเกิดขึ้นจะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ที่ปกติเพียงบางส่วน (ประมาณ 1/3) คือมีลักษณะกึ่งเป็นหมัน (semi-sterility) เช่นในข้าวโพดพบว่า ข้าวโพดบางฝักมีการติดเมล็ดกระจัดกร ะจายไม่เต็มฝัก ในคนที่มีทรานสโลเคชั่นชนิดนี้เกิดขึ้นได้แก่กลุ่มอาการดาวน์ชนิดที่เรียกว่า "translocation Down syndrome" ซึ่งเกิดจากการสลับส่วนของโครโมโซมระหว่าง
โครโมโซมคู่ที่ 14 (หรือ 15) กับคู่ที่ 21 การเกิด Translocation แบบอื่น ๆ
2 ความผิดปกติของโครโมโซมด้านจำนวน (Chromosomal aberrations in chromosome number) [บน] สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีจำนวน (และรูปร่าง) ของโครโมโซมคงที่ จำนวนโครโมโซมของสิ่งมีชีวิตอาจเ ปลี่ยนแปลงไปจากปกติได้ทั้งโดยธรรมชาติและโดยการชักนำของสารก่อการกลายพันธุ์ และเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของโครโมโซมเราอาจตรวจสอบจำนวนโครโมโซมได้ง่ายทางเซลล์วิท ยา การเปลี่ยนแปลงจำนวนโครโมโซมไปจากปกติ อาจเปลี่ยนแปลงเป็นชุด (set) ซึ่งเรียกว่า ยูพลอยดี้ (euploidy) หรืออาจเปลี่ยนแปลงไปเพียงบางส่วนของ 1 ชุด ซึ่งเรียกว่า แอนยูพลอยดี้ (aneuploidy) กลไกการเกิดการเปลี่ยนแปลงจำนวนโครโมโซมโดยทั่วๆไป เกิดจากปรากฎการณ์ นอนดิสจังชั่น (nondisjunction) ในการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (รูปที่ 9 ) ทำให้ได้เซลล์พันธุ์ที่มีโครโมโซมที่มีจำนว นผิดไปจากปกติ ซึ่งเมื่อผสมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศตรงข้ามก็จะได้ไซโกตที่มีจำนวนโครโมโซมผิดไปจากปกติ
รูปที่ 9 แผนภาพแสดงการเกิดนอนดิสจังชั่นในการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสเมื่อ (ก) เกิดนอนดิสจังชั่นในระยะไมโอซิส-1 (ข) เกิดนอนดิสจังชั่นในระยะไมโอซิส-2 (จาก Suzuki, D.T. et. al., 1986) ยูพลอยดี้ (EUPLOIDY) [บน] ยูพลอยดี้ หมายถึง ภาวะที่มีจำนวนโครโมโซมเปลี่ยนแปลงไปเป็นชุด ซึ่งคำว่า "ชุด" ในที่นี้ตรงกับค ำว่า เบสิค-เซท (basic set) จำนวนโครโมโซมใน 1 เบสิค-เซท คือ "จำนวนโมโนพลอยด์" (monoploid number) = x เรียกสิ่งมีชีวิตที่มีจำนวนโครโมโซมเป็นจำนวนพหุคูณ (multiples) ของจ ำนวนโมโนพลอยด์ว่า ยูพลอยด์ (euploid) และเรียกสิ่งมีชีวิตที่มีจำนวนเบสิคเซทมากกว่าสองว่า โพลีพลอยด์ (polyploid) ดังนั้น สิ่งมีชีวิตที่มีจำนวนชุดของเบสิค-เซท = 1x จึงเป็นโมโนพลอยด์, 2x เป็นดิพ ลอยด์ และ > 2x เป็นโพลีพลอยด์ (ตารางที่ 1) สำหรับคำว่า "จำนวนแฮพลอยด์" (haploid number หรือ n) ที่ใช้กันโดยทั่วไปนั้น หมายถึง จำนวนโครโมโซมในแต่ละเซลล์สืบพันธุ์ ซึ่งจะเป็นครึ่งหนึ่งของโค รโมโซมทั้งหมดของเซลล์ในสัตว์ชั้นสูง (รวมทั้งคน) และพืชชั้นสูงส่วนมากที่เราคุ้นเคย ซึ่งจะมีจำนวนโครโมโซมเพียง 2 ชุด (2x) ดังนั้น จำนวนแฮพลอยด์และจำนวนโมโนพลอยด์ในสิ่งมีชีวิตชั้นสูงทั่วไปจึงเ ท่ากัน (n = x, 2n = 2x) สำหรับในข้าวสาลีซึ่งมีโครโมโซมทั้งหมด 42 แท่ง แต่มีโครโมโซมทั้งหมด 6 ชุด (6x) และมีจำนวนโครโมโซมในเซลล์สืบพันธุ์ (ละอองเรณูและไข่) 21 แท่งนั้น แสดงว่า 2n = 42 = 6x ดังนั้น n = 21 แต่ x = 7 โครโมโซมแต่ละชุดของโพลีพลอยด์ (รวมทั้งในดิพลอยด์) อาจมีแหล่งกำเนิดทางพันธุกรรมเหมือนหรือต่างกัน เรียกแหล่งกำเนิดหรือชนิดของชุดของโครโมโซมว่า "จีโนม" (genome) ดังนั้นจึงอาจแบ่งโพลี พลอยดี้ออกเป็น 2 พวกตามชนิดของจีโนม (ตารางที่ 1) ดังต่อไปนี้ ก) ออโตโพลีพลอยดี้ (autopolyploidy) ซึ่งหมายถึงโพลีพลอยดี้ที่แต่ละชุดของโครโมโซมเป็นจีโนมชนิดเดียวกัน หรืออีกนัยหนึ่งเป็นจีโนมที่มาจากต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตพรรณหรือชนิด (species) เดียวกัน และ ข) อัลโลโพลีพลอยดี้ (allopolyploidy) ซึ่งหมายถึง โพลีพลอยดี้ที่มีจีโนมต่างกันหรือมีต้นกำเนิดจากสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน แต่ต้องเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีสารพันธุกรรมใกล้ชิดกันมาก และโดยทั่วไปพบว่าอย่างน้ อยต้องอยู่ในสกุล (genus) เดียวกัน เรียกโครโมโซมที่ไม่เหมือนกันทีเดียว แต่คล้ายกันมากในสิ่งมีชีวิตที่มีแหล่งกำเนิดใกล้ชิดกันเช่นนี้ว่า "homologous chromosomes" ตัวอย่างชนิดของสัตว์ที่อยู่ต่างสกุลกันและผสมพันธุ์กันได้ ได้แก่ ม้ากับลา ซึ่งได้ลูกผสมคือ ล่อ แต่เป็นหมัน ส่วนในพืชมีพบค่อนข้างบ่อยตัวอย่างเช่น การผสมกันของข้าวสาลีพันธุ์ป่า นอกจากนี้ยังอาจแบ่งโพ ลีพลอยดี้เป็นชนิดเลขคู่เช่น 4x, 6x, 8x และชนิดเลขคี่ 3x, 5x, 7x (ตารางที่ 10.1) ภาวะโพลีพลอยดี้มักพบในพืช ในสัตว์มีพบน้อยมากแสดงว่าสัตว์มักไม่สามารถทนทานต่อภาวะการขาด หรือเกินของโครโมโซมเป็นจำนวนมาก (เป็นชุด) ได้ ในสัตว์เท่าที่มีรายงานพบได้แก่ พวก 3x ในแมลงหวี่และในซาลาแมนเดอร์ (salamander) รวมทั้งในคนก็เคยมีรายงานว่าพบทารกตายในท้องมารดาตั้ งแต่อายุต่ำกว่า 3 เดือนที่เป็น 3x หรือ 4x พืชที่เป็นโพลีพลอยด์มักมีขนาด (ของดอก ผล ใบ เซลล์ รูใบ ฯลฯ) ใหญ่กว่า มีผลผลิต รวมทั้งการสร้างสารหรือฮอร์โมนบางอย่างได้มากกว่าพันธุ์ที่เป็นดิพลอยด์ ตัวอย่างข้าวโพดพันธุ์ 4x มีวิตามินสูงกว่าพันธุ์ 2x ยาสูบ 4x มีสารนิโคทินสูงกว่าพันธุ์ 2x ต้นซูการ์บีท (sugar beet) พันธุ์ 3x มีขนาดหัวโตกว่าและปริมาณน้ำตาลมากกว่าพันธุ์ 2x ตารางที่ 1การแปรปรวนของจำนวนโครโมโซมเป็นจำนวนชุด (euploidy) กำหนดให้ A และ B เป็นชนิดของจีโนม ; a1 และ a2, b1 และ b2 เป็นชนิดของโครโมโซมของจีโนม A และจีโนม B ตามลำดับ (กำหนดให้ 2n = 2x = 4)
|