การเกษตรแบบยั่งยืน สุวรรณภูมิเป็นแหล่งอารยธรรมและการเพาะปลูกมานานนับสิบปี คนไทยสมัยโบราณส่วนใหญ่ทำดินไม่ได้ ทำขาย อย่างจริงจัง การเกษตรดั้งเดิมจึงเป็นเกษตรธรรมชาติที่ค่อย ๆ
พัฒนามาพร้อมกับวัฒนธรรมแบบภูมิปัญญา แต่ปัจจุบันนี้เรามีพลเมืองมากขึ้น ต้องการอาหารและปัจจัยอื่น
ๆ เพิ่มขึ้นมาก สินค้าเกษตรต้องผลิตมากขึ้นให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคและโรงงานอุตสาหกรรม ต้องอาศัยความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่าง
ๆ การเกษตรสมัยใหม่จึงทำการผลิตแบบอุตสาหกรรมไปด้วย อาศัยเครื่องจักร ปุ๋ย และสารเคมีนา ๆ ชนิดที่ต้องซื้อใช้ แผ่นดินอย่างไม่มีการพัก ผลผลิตที่ได้บางครั้งขายไม่ได้ราคา ส่งออกในราคาขาดทุน ไม่คุ้มกับทรัพยากรที่สูญเสียไป เกษตรยั่งยืน (sustainable agriculture) นอกจากนี้ยังมีวิธีการที่มีเป้าหมายคล้ายกับเกษตรยั่งยืน
เช่น เกษตรอินทรีย์ เกษตรแบบผสมผสาน เกษตรปลอดสารพิษ ซึ่งล้วนแต่เป็นวิธีทำการเกษตรที่ทำกันมาแต่ดั่งเดิม อย่างไรก็ตามสำหรับปัจจุบันสังคมสมัยใหม่ต้องการปัจจัยอื่น
ๆ ในการปรับปรุงคุณภาพชีวิต และประเทศชาติต้องมีรายได้ จากการส่งออกผลผลิตการเกษตรเพื่อนำมาพัฒนาประเทศ ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีที่ศึกษา แล้วว่ามีความเหมาะสมกับสภาพการเกษตรของเราจะช่วยให้ประสิทธิภาพของการผลิตและคุณภาพของผลผลิตดีขึ้น เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ และไม่เป็นการถอยหลังเข้าคลอง ประเทศไทยมีพลเมืองประกอบอาชีพเกษตรกรรมหรืออาชีพเกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรมถึ 80 % พื้นที่ส่วนใหญ่ก็ใช้ในการเพาะปลูก เนื่องจากมีทรัพยากรค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ มีทะเลเป็นทางออกนำสินค้าเกษตรไปขายต่างประเทศ จึงควรรักษาศักยภาพนี้ไว้ให้เป็นที่ทำมาหากินของคนรุ่นหลังด้วย การเกษตรแผนใหม่กับการใช้ทรัพยากรการเกษตรในปัจจุบันได้เพิ่มการทำลายทรัพยากรต่าง ๆ ดังนี้1. การเพิ่มพื้นที่โดยบุกรุกป่า การปรับเปลี่ยนป่าธรรมชาติเป็นสวนป่า เป็นต้น หรือเสียพื้นที่ป่าไปกับโครงการอ่างเก็บน้ำ ฯลฯ 2. การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงกับเครื่องจักรกลการเกษตรต่าง ๆ และการขนส่งพืชผล (ในอดีตไปทางเรือ) 3. การใช้น้ำจำนวนมหาศาลในการทำนาปรัง 4. โรงงานอุตสาหกรรมเกษตรที่ไม่ได้คำนึงถึงการทำลายแหล่งน้ำธรรมชาติ 5. ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับวัฒนธรรม ซึ่งเป็นทรัพยากรชุมชน ได้ค่อย ๆ หายไป การปรับเปลี่ยนวิธีทำการเกษตรให้ทันสมัยเป็นเรื่องจำเป็น แต่ต้องพิจารณาอย่างชาญฉลาดและไม่ขาดความรับผิดชอบ คำถาม 1. ข้อความต่อไปนี้ข้อความใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของเกษตรแบบยั่งยืน - ผลผลิตสูงสุด - การควบคุมศัตรูพืชแบบผสมผสาน - เศรษฐกิจพอเพียง - ความมั่งคั่งสำหรับการสร้างถาวรวัตถุ - การใช้แต่ปุ๋ยอินทรีย์ 2. เกษตรยั่งยืนมีความสำคัญต่อสังคมชนบทไทยอย่างไร 3. คำต่อไปนี้แตกต่างกันหรือไม่อย่างไร 3.1 ผักปลอดสารพิษ และ ผักไร้สารพิษ 3.2 เกษตรอินทรีย์ และ เกษตรชีวภาพ 4. เกษตรแบบผสมผสานมีข้อดีและข้อเสียอะไรบ้าง 5. หญ้าแฝกช่วยในการเกษตรแบบยั่งยืนอย่างไรบ้าง เอกสารอ้างอิง คณะทำงานวิชาการ. 2539. การใช้ประโยชน์หญ้าแฝก. เอกสารเผยแพร่กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. จุลณีย์ ถนอมพล. 2546. พัฒนาการมีส่วนร่วมแบบองค์รวม (พหุภาคี) สัจธรรมสู่ภาคเกษตรยั่งยืนอย่างแท้จริง. http://www.asoke.info/kundinfa/appendix/oot/oat05.html ณรงค์ โชควัฒนา. 2540. ความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องปฏิรูปโครงสร้างการเกษตรของชาติ. เอกสารประกอบคำบรรยาย สุชาติ เมืองแก้ว, อุไร พานิชอัครา และพิเชษฐ อุไรรงค์. พัฒนาเกษตรไทยเพื่อการผลิตและสิ่งแวด-ล้อม. สำนักนโยบายและแผนอุดมศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงมหาวิทยาลัย ทบวงมหาวิทยาลัย อนันต์ ดาโลดม. 2546. เกษตรยั่งยืน. http://www.doa.go.th/sustainable/24-02-42_1.html อภิพรรณ พุกภักดี. 2546. เกษตรยั่งยืน. http://www.greenag.org/meaning2_2.asp |