วัตถุประสงค์

เนื้อหา

ความจำเป็นในการสำรวจธรรมชาติ และทรัพยากร

ธรรมชาติ เป็นระบบที่มีพลวัตร มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงอาจเกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีรูปแบบที่สม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น ทะเลมีระดับน้ำขึ้นน้ำลง ในแต่ละวัน ชายฝั่งทะเลมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากพลังงานของคลื่นลม และกระแสน้ำ ป่าไม้มีการรุกคืบของพืชบางชนิด และการถอยร่นของพืชอีกบางชนิด ภูเขามีการกัดกร่อน และถูกลมพัดพาให้เปลี่ยนรูปทรง ในบางกรณีการเปลี่ยนแปลงอาจเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน เช่น เกิดคลื่นทสุนามิ (tsunami) พายุรุนแรงทำให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ มีอำนาจในการทำลายชายฝั่งอย่างมาก พายุก่อให้เกิดฝนตกหนัก ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก เกิดน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางไหลของแม่น้ำลำธาร พายุฝนตกหนักอาจก่อให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจเกิดไฟป่าทำให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของป่าอย่างเฉียบพลัน นอกจากการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติดังกล่าว

กิจกรรมของมนุษย์นับเป็นส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมด้วยเช่นกัน มนุษย์เปลี่ยนแปลงสภาพป่า หรือท้องทุ่ง ให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม เป็นเมือง เป็นถนนหนทาง มนุษย์สร้างเขื่อนสร้างฝายเปลี่ยนที่ลุ่มเป็นทะเลสาบ เปลี่ยนเส้นทางไหลของน้ำ

มนุษย์นำพลังงานของโลกมาใช้ทั้งในรูปของพลังงานชีวภาพ ด้วยกระบวนการเกษตรกรรม ในรูปพลังงานเชื้อเพลิง ด้วยกระบวนการอุตสาหกรรม การเปลี่ยนสมดุลย์พลังงานที่มนุษย์ก่อขึ้นก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสมดุลย์ของสภาวะแวดล้อม กลายเป็นมลภาวะที่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อม ทำลายธรรมชาติ และย้อนกลับมาทำลายสุขอนามัยของมนุษย์ในที่สุด

การสำรวจธรรมชาติ อาจเกิดจากวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่งดังนี้ เพื่อจะได้ทราบถึงสถานภาพของสภาวะแวดล้อมว่าอยู่ในสภาวะใด ช่วงเสื่อมโทรม ช่วงเสถียร หรือช่วงพัฒนาการ เพื่อจะได้จัดการสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม พยายามสร้างสภาวะเสถียรให้กับธรรมชาติ และป้องกันการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อมนุษย์ วัตถุประสงค์ในลักษณะนี้เกิดจากสำนึกในความรับผิดชอบต่อธรรมชาติ ในฐานะที่มนุษย์เป็นผู้ที่ก่อกิจกรรม และสร้างอุปสงค์ต่อการใช้ทรัพยากรอย่างมาก จึงต้องการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อจะได้ทราบถึงขีดความสามารถในการนำทรัพยากรไปใช้ อันเกิดจากความต้องการแข่งขันในการเข้าใช้ทรัพยากรก่อนผู้อื่น ซึ่งเป็นแนวคิดในเชิงการขยายอิทธิพลที่พัฒนารูปแบบมาจากการทำสงครามแย่งทรัพยากรมาเป็นรูปแบบสงครามธุรกิจ วัตถุประสงค์ในลักษณะนี้ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมต่างๆ ของโลกมามากมาย อย่างไรก็ตามกระแสความคิดด้านนี้ยังเป็นด้านหลัก เพราะมนุษย์ยังไม่เจริญพอที่จะใช้เกณฑ์คุณธรรมมาวัดระดับการพัฒนาได้ จึงยังคงใช้เกณฑ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าการใช้กำลังอำนาจแบบโบราณเพียงเล็กน้อยมาเป็นดัชนีวัดการพัฒนาอยู่ ู่

คลื่นทสุนามิ (ภาษาญี่ปุ่น แปลว่าคลื่นยาวที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้า)  เป็นคลื่นในทะเล ที่จัดเป็นคลื่นน้ำตื้น (มีความยาวคลื่นมากกว่าความลึกของน้ำ)  เกิดจากการเกิดแผ่นดินไหวใต้ทะเลทำให้ระดับน้ำทะเลเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลัน  คลื่นดังกล่าวจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วหลายร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมง  เมื่อคลื่นเคลื่อนเข้าสู่ฝั่ง ความสูงของคลื่นจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และสามารถก่อให้เกิดน้ำท่วมเฉียบพลันสร้างความเสียหายให้กับชีวิต และทรัพย์สินอย่างรุนแรงได้

 

เทคโนโลยีกับการสำรวจธรรมชาติ

ขั้นตอนพื้นฐานของการสำรวจธรรมชาติมักประกอบขึ้นด้วย

ในการสำรวจธรรมชาติเพื่อให้ทราบสถานะ และลักษณะการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติจึงต้องคำนึงถึง

ขอบเขตเชิงพื้นที่ของสภาวะธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงที่สนใจ  สภาวะธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงของสภาวะธรรมชาติที่สนใจอาจครอบคลุมพื้นที่ไม่กี่ตารางเมตรไปจนเป็นพื้นที่หลายตารางกิโลเมตร เช่นสภาวะความอุดมสมบูรณ์ของป่า  การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในบ่อ ในบึง  หรือ ในอ่าว  การแพร่กระจายของโรคพืช เกิดขึ้นเป็นแปลง หรือลุกลามเป็นจังหวัด ฯลฯ

ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงที่สนใจ มีช่วงเวลานับแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดสั้นยาวอย่างไร เช่น การเปลี่ยนแปลงของภูมิประเทศ การเปลี่ยนแปลงทางธรณีมักใช้เวลาเป็นล้านปี การเปลี่ยนแปลงขยายตัวของเมืองจะสังเกตเห็นได้ชัดถ้ามีการสังเกตุเป็นรายปี  การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำขึ้นน้ำลง เกิดขึ้นทุกวัน  เป็นต้น

คุณภาพและปริมาณของธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงที่สนใจ  มีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด เช่นการสำรวจสภาวะของป่าไม้ จะต้องพิจารณาถึงความอุดมสมบูรณ์ ความหลากหลายของพันธุ์ไม้ รูปทรงและพื้นที่ของป่า  คุณภาพและปริมาณที่เหล่านี้สามารถสังเกตุได้หรือไม่  อุณหภูมิที่สูงขึ้น 3 องศาเซลเซียสบอกสภาวะการเปลี่ยนแปลงของน้ำทะเล และอุณหภูมิเฉลี่ยของเมืองเหมือนกันหรือไม่       

ในการสำรวจดังกล่าว อาจเลือกแนวทางในการสำรวจ และตรวจวัดด้วยการลงสำรวจในพื้นที่ หรือด้วยการใช้เทคโนโลยีรีโมทเซนซิงช่วยในการสำรวจ หรือใช้ทั้งสองแนวทางผสมกัน

การสำรวจตรวจวัดในพื้นที่ (in situ sensing) เป็นการสำรวจโดยผู้สำรวจนำเครื่องมือวัดเข้าไปในพื้นที่ที่ต้องการสำรวจ เช่น เมื่อต้องการสำรวจคุณภาพน้ำทะเลก็สามารถดำเนินการได้โดยลงเรือสำรวจ แล้วออกไปตรวจวัดน้ำในทะเล หรือการติดเครื่องมือวัดไว้กับทุ่นลอย แล้วใช้วิทยุส่งข้อมูลที่วัดได้มายังสถานีรับ  การตรวจวัดความอุดมสมบูรณ์ของดิน ด้วยการใช้เครื่องมือวัดไปตรวจดินให้ทั่วพื้นที่ที่ต้องการศึกษา 

การตรวจวัดด้วยเทคโนโลยีรีโมทเซนซิง (remote sensing) เป็นการสำรวจจากระยะไกล  โดยเครื่องมือวัดไม่มีการสัมผัสกับสิ่งที่ต้องการตรวจวัดโดยตรง  กระทำการสำรวจโดยให้เครื่องวัดอยู่ห่างจากสิ่งที่ต้องการตรวจวัด โดยอาจติดตั้งเครื่องวัดเช่น กล้องถ่ายภาพ ไว้ยังที่สูง บนบอลลูน บนเครื่องบิน ยาวอวกาศ หรือดาวเทียม แล้วอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ หรือสะท้อนมาจากสิ่งที่ต้องการสำรวจเป็นสื่อในการวัด

เทคโนโลยีรีโมทเซนซิง

เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยีรีโมทเซนซิง  มีองค์ประกอบที่จะต้องพิจารณาคือ

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic waves)

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นรูปแบบหนึ่งการถ่ายเทพลังงาน จากแหล่งที่มีพลังงานสูงแผ่รังสีออกไปรอบๆ  โดยมีคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คือ

ความยาวคลื่น(l) โดยอาจวัดเป็น nanometre (nm) หรือ micrometre (mm) และ ความถี่คลื่น(f) ซึ่งจะวัดเป็น hertz (Hz)  โดยคุณสมบัติทั้งสองมีความสัมพันธ์ผ่านค่าความเร็วแสง ในรูป  c = fl

พลังงานของคลื่น  พิจารณาเป็นความเข้มของกำลังงานหรือฟลักซ์ของการแผ่รังสี (มีหน่วยเป็น พลังงานต่อหน่วยเวลาต่อหน่วยพื้นที่ = joule s-1 m-2 = watt m-2) ซึ่งอาจวัดจากความเข้มที่เปล่งออกมา (radiance)  หรือความเข้มที่ตกกระทบ(irradiance)

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ถูกจำแนกออกตามย่านความยาวคลื่นต่างๆ  จากคลื่นสั้นไปคลื่นยาวดังนี้คือ

ประเภท
ความยาวคลื่น
ความถี่
อัลตราไวโอเลต (ultraviolet)
100 A  - 0.4 mm
750 – 3500 THz
คลื่นแสง (visible light)
0.4 - 0.7 mm
430 – 750 THz
อินฟราเรด (infrared)
        อินฟราเรดใกล้ (near IR)
0.7 - 1.3 mm
230 – 430 THz
        อินฟราเรดคลื่นสั้น (shortwave IR)
1.3 - 8 mm
38 – 230 THz
        อินฟราเรดความร้อน (thermal IR)
8 -14 mm
22 – 38 THz
        อินฟราเรดไกล (far IR)
14 - 1 mm
0.3 – 22 THz
คลื่นวิทยุ (radio wave)
        ไมโครเวฟ (microwave)
0.1  - 1 mm
0.3 THz – 3 GHz
        คลื่นสั้น (HF)
1 mm  - 100 m
3 – 300  MHz
        คลื่นกลาง (MF)
0.1  - 1 km
0.3 – 3 MHz
        คลื่นยาว (LF)
1  - 10 km
30 – 300 KHz
        คลื่นยาวมาก (VLF)
10  - 100 km
3 – 30 KHz

ความยาวช่วงคลื่นและความเข้มของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของแหล่งกำเนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  เช่น ดวงอาทิตย์ มีอุณหภูมิ 6000 K จะแผ่พลังงานในช่วงคลื่นแสงมากที่สุด  วัตถุต่างๆ บนพื้นโลกส่วนมากจะมีอุณหภูมิประมาณ  300 K จะแผ่พลังงานในช่วงอินฟราเรดความร้อนมากที่สุด

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเมื่อเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศ จะถูกโมเลกุลอากาศ และฝุ่นละอองในอากาศดูดกลืน และขวางไว้ทำให้คลื่นกระเจิงคลื่นออกไป  คลื่นส่วนที่กระทบถูกวัตถุจะสะท้อนกลับ และเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศมาตกสู่อุปกรณ์วัดคลื่น 

เนื่องจากวัตถุต่างๆ มีคุณสมบัติการสะท้อนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ช่วงคลื่นต่างๆ ไม่เหมือนกัน  ดังนั้นเราจึงสามารถใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการสำรวจจากระยะไกลได้  รูปต่อไปนี้แสดงลักษณะการสะท้อนแสงเปรียบเทียบระหว่างวัตถุต่างชนิดกันที่ช่วงคลื่นต่างๆ กัน

ความสามารถในการสะท้อนแสงของวัตถุต่างๆ บนพื้นโลกสามารถสรุปได้ดังนี้ 

เครื่องมือวัด (sensors)

เครื่องมือวัดในเทคโนโลยีรีโมทเซนซิงคือเครื่องมือที่วัดพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องมือซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีคือกล้องถ่ายรูป กล้องถ่ายวีดีโอ  และเรดาร์ โดยเครื่องมือวัดจะประกอบด้วยส่วนสำคัญสามส่วนคือ

ในส่วนของเครื่องมือวัดยังมีส่วนที่จะต้องพิจารณาอีกส่วนหนึ่งคือแหล่งกำเนิดของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้ในการสำรวจ โดยจำแนกได้เป็นสองกลุ่มคือ

Active sensor เป็นระบบที่เครื่องมือวัดเป็นแหล่งกำเนิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเองด้วย  ในระบบรีโมทเซนซิงที่วัดจากระยะไกลมาก คลื่นกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้จะจำกัดอยู่ในช่วงคลื่นวิทยุเท่านั้น เนื่องจากปัญหาของแหล่งพลังงาน

Passive sensor เป็นระบบที่อาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดอื่น เช่นใช้แสงจากดวงอาทิตย์ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่สิ่งที่ต้องการสำรวจแผ่รังสีออกมาเอง (มักจะเป็นช่วงอินฟราเรดความร้อน)  ในกรณีที่ใช้แสงจากดวงอาทิตย์ เครื่องมือวัดจะทำงานได้เฉพาะในเวลากลางวันเท่านั้น นอกจากการศึกษารูปแบบของเมฆในทางอุตุนิยมวิทยา การตรวจวัดยังต้องการท้องฟ้าที่ปลอดโปร่ง ไม่มีเมฆ หรือฝนในช่วงที่ทำการตรวจวัดด้วย

ยานสำรวจ (Platform)

เพื่อให้เครื่องมือวัดอยู่ห่างจากสิ่งที่ต้องการสำรวจ จึงมักติดตั้งเครื่องมือวัดไว้ในที่สูง ซึ่งอาจเป็นการติดตั้งเครื่องมือไว้บนเสาสูง ยอดตึก หรือบนภูเขา ซึ่งการติดตั้งในลักษณะนี้จะมีข้อดีคือสามารถตรวจวัดเฝ้าระวังสิ่งที่สนใจได้อย่างต่อเนื่อง แต่มีข้อจำกัดที่การตรวจวัดจะมีขอบเขตพื้นที่คงที่ตามตำแหน่งที่ติดตั้งเครื่องมือวัดเท่านั้น

การติดตั้งเครื่องมือสำรวจด้วยเทคโนโลยีรีโมทเซนซิงมักติดตั้งบนพาหนะที่ลอยได้ ซึ่งอาจเป็นบอลลูน เครื่องบินบังคับ เครื่องบินขนาดเล็ก เครื่องบินที่มีพิสัยการบินสูง ยานอวกาศ หรือดาวเทียม

 

ยานสำรวจ

ระดับความสูง

ลักษณะการสำรวจ

ดาวเทียมค้างฟ้า

500 - 36,000 กม.

สำรวจแบบประจำ มีจุดสำรวจคงที่

ดาวเทียมโคจรรอบโลก

500 – 3000 กม.

สำรวจแบบประจำ ครอบคลุมพื้นที่กว้าง

ยานอวกาศ

240 – 350 กม.

สำรวจตามภารกิจ

เครื่องบินไอพ่น

10 – 12 กม.

พื้นที่สำรวจกว้างมาก ต้องการรายละเอียดปานกลาง

เครื่องบิน

500 – 8,000 ม.

พื้นที่สำรวจกว้าง ต้องการรายละเอียดมาก

บัลลูน

< 800 ม.

พื้นที่สำรวจไม่กว้าง ต้องการรายละเอียดมาก

เครื่องบินบังคับด้วยวิทยุ

< 500 ม.

พื้นที่สำรวจไม่กว้าง

เสาสูง ยอดตึก ภูเขา

< 300 ม.

จุดสำรวจคงที่ พื้นที่สำรวจเล็กๆ

 

นอกจากดาวเทียมแล้ว ยานสำรวจที่เหลือจะเป็นการบินสำรวจตามภารกิจที่ต้องมีการกำหนดเส้นทางบิน และระดับความสูงการบินเฉพาะ  ช่วงเวลาในการสำรวจจะจำกัดตามความจุเชื้อเพลิงของยานพาหนะที่เลือกใช้  ดังนั้นช่วงเวลา และพื้นที่สำรวจมักครอบคลุมบริเวณใดบริเวณหนึ่งตามที่กำหนดโดยภารกิจการสำรวจเท่านั้น

ส่วนการใช้ดาวเทียมเป็นยานสำรวจ  จะมีข้อดีคือดาวเทียมอาศัยหลักการสมดุลระหว่างแรงหนีศูนย์กลางและแรงดึงดูดของโลกมาเป็นตัวรักษาวงโคจรของดาวเทียม (แทนที่จะใช้เชื้อเพลิงมาขับเคลื่อนไม่ให้ยานตกลงสู่พื้นโลก)  ดาวเทียมจึงไม่มีข้อจำกัดในด้านความจุเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในการเคลื่อนที่ของดาวเทียม  และทำให้ดาวเทียมสามารถโคจรรอบโลกอยู่ได้นานทำให้การสำรวจสามารถครอบคลุมเวลาได้นานเป็นปีๆ และสามารถเลือกพื้นที่ที่จะให้ดาวเทียมบินสำรวจได้ครอบคลุมพื้นที่กว้าง โดยขึ้นอยู่กับวงโคจรที่จะให้ดาวเทียมเคลื่อนที่

การสำรวจด้วยรีโมทเซนซิงมีการใช้วงโคจรของดาวเทียม 2 ลักษณะสำคัญคือ

วงโคจรแบบค้างฟ้า (geostationary orbit)

ดาวเทียมจะปรากฏเหมือนอยู่นิ่งเมื่อสัมพัทธ์กับตำแหน่งบนพื้นโลก ดาวเทียมโคจรในทิศเดียวกับการหมุนรอบตัวเองของโลก มีระนาบการโคจรอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร และมีความสูงประมาณ 36,000 กิโลเมตร  

ตำแหน่งของดาวเทียมสัมพัทธ์กับตำแหน่งบนพื้นโลกจะเสมือนว่าดาวเทียมอยู่นิ่งค้างอยู่บนฟ้าตลอดเวลา จึงเรียกดาวเทียมที่มีลักษณะวงโคจรเช่นนี้ว่า ดาวเทียมค้างฟ้า (geostationary satellite) 

ดาวเทียมด้านอุตุนิยมวิทยาที่ใช้ศึกษา และสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโดยดูจากรูปทรงและการเคลื่อนตัวของเมฆ จะใช้วงโคจรลักษณะนี้  ตัวอย่างเช่น ดาวเทียม GMS ของประเทศญี่ปุ่น

นอกจากนั้นดาวเทียมสื่อสารจำนวนมาก เช่น ดาวเทียมปาลาป้า ดาวเทียมของ StarTV  รวมทั้ง ดาวเทียมไทยคม ของบริษัทชินวัตร ก็ใช้วงโคจรแบบ geostationary เช่นกัน

 

วงโคจรแบบใกล้แกนหมุนของโลก (near polar orbit)

 

ระนาบของวงโคจรของดาวเทียมจะอยู่ในทิศใกล้เคียงกับแนวแกนหมุนของโลก โดยดาวเทียมอาจอยู่ที่ระดับความสูงใดก็ได้ที่ความเสียดทานของบรรยากาศมีน้อยจนไม่สามารถทำให้ความเร็วของดาวเทียมลดลง

ดาวเทียมสำรวจส่วนมากจะมีวงโคจรในลักษณะนี้  โดยจะมีการกำหนดระดับความสูง และมุมของระนาบวงโคจรเทียบกับแนวเส้นศูนย์สูตร ที่เหมาะสม (โดยมากจะมีความสูงประมาณ 700-1000 กิโลเมตร และมีมุมเอียงประมาณ 95 – 100 องศา จากระนาบศูนย์สูตร) ตัวอย่างเช่น ดาวเทียม Landsat (สหรัฐอเมริกา) SPOT (ฝรั่งเศส) ADEOS (ญี่ปุ่น) INSAT (อินเดีย) RADARSAT (แคนาดา)

ดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร เช่น ดาวเทียมอีริเดียม ใช้วงโคจรในลักษณะนี้ แต่จะมีระนาบวงโคจรที่เอียงออกจากแนวแกนหมุนของโลกมากกว่านี้

 

หมายเหตุ เกี่ยวกับ ไทยคม หรือนี่คือสิ่งที่เราจะภูมิใจได้?

ดาวเทียมไทยคม 1 และ 2 เป็นดาวเทียมในสกุล Boeing 376L (เดิมเรียก Hughes 376) ซึ่งบริษัท Boeing ได้ทำการจัดสร้างขึ้นรวมทั้งหมด 56 ดวง จัดเป็นดาวเทียมสื่อสารที่มีราคาย่อมเยาเมื่อเทียบกับดาวเทียมสื่อสารรุ่นอื่นๆ สำหรับดาวเทียมไทยคมเองมีราคาต่ำกว่าดาวเทียมทั่วไปในรุ่นเดียวกัน เนื่องจากติดตั้งอุปกรณ์วิทยุน้อยกว่าดาวเทียมอื่นๆ บริษัทเจ้าของดาวเทียมเลือกที่จะเพิ่มเชื้อเพลิงในการปรับวงโคจร แทนการติดตั้งระบบสื่อสาร เพื่อทำให้ดาวเทียมมีอายุใช้งานนานกว่าดาวเทียมในมาตรฐานเดียวกัน (13.5 ปี แทนที่จะเป็น 8-10 ปี เหมือนดาวเทียมที่ดำเนินการโดยผู้ประกอบการทั่วไปในประเทศอื่น) โดยยอมลดจำนวน transponders ลง บริษัทเจ้าของดาวเทียมจ้างบริษัท Boeing Satellite System (บริษัท Hughes ในขณะนั้น) ของสหรัฐอเมริกา ในการสร้างดาวเทียม ติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมในประเทศไทย และอบรมพนักงานของบริษัทในราคาเพียง 100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2500 ล้านบาท ในปี 1991 โดยรัฐบาลไทยในขณะนั้น ยอมให้สัมปทานผูกขาดกับบริษัทเจ้าของดาวเทียมยาวนานถึง 30 ปี ทั้งที่ขณะนั้นประเทศไทยมีการใช้ระบบดาวเทียมอย่างแพร่หลายในประเทศไทยอยู่แล้ว และอายุดาวเทียมโดยปกติจะประมาณ 10 ปี (ซึ่งหมายความว่าจุดคุ้มทุนของดาวเทียมจะต่ำกว่า 10 ปี สำหรับการให้บริการดาวเทียมในประเทศอื่นๆ ซึ่งมีค่าเช่าสัญญาณถูกกว่าประเทศไทย เนื่องจากไม่มีการผูกขาด) การยกประโยชน์ผูกขาดให้กับบริษัทที่ลงทุนในดาวเทียมดังกล่าว ทำให้บริษัทผู้ผลิตดาวเทียมถึงกับให้ข้อมูลการลงทุน และรายละเอียดที่น่าสังเกตเหล่านี้ใน web page ของ Boeing เลยทีเดียว

 

 

การแปลความหมายของข้อมูล (Data interpretation)

เครื่องวัดของระบบรีโมทเซนซิง จะทำการวัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ 3 ลักษณะคือ

นอกจากการพิจารณาข้อมูลแต่ละค่าที่เครื่องวัดบันทึกไว้ ถ้าสามารถสร้างภาพจากข้อมูลรีโมทเซนซิงได้ (เช่นถ้าใช้กล้องถ่ายภาพ ก็สามารถล้าง และอัดภาพออกมาได้) เรายังสามารถแปลความหมายข้อมูลโดยพิจารณาจากลักษณะที่ปรากฏในภาพได้อีกด้วย ทั้งนี้การแปลภาพจะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบของภาพ และกำลังแยกของข้อมูลที่ใช้ในการสร้างภาพ

องค์ประกอบของภาพ ประกอบด้วย

ในการแปลความหมายส่วนต่างๆ ของภาพ อาจใช้องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ง หรือหลายๆ องค์ประกอบผสมกัน

กำลังแยกของข้อมูล ที่จะต้องพิจารณาคือ

กำลังแยกเชิงพื้นที่ (spatial resolution) เป็นการวัดว่าเครื่องมือวัดจะสามารถแยกของสองอย่างออกจากกันถ้าของสองสิ่งนั้นอยู่ห่างกันอย่างน้อยที่สุดเท่าใด ถ้าของสองสิ่งอยู่ใกล้กันเกินไป เครื่องมือวัดจะไม่สามารถแยกของคู่นั้น และจะเห็นรวมเป็นของสิ่งเดียว
กำลังแยกตามย่านความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (spectral resolution) เป็นการวัดว่าเครื่องมือสามารถจำแนกสีต่างๆ ได้ละเอียดเพียงใด เราสามารถแยกประเภทของต้นไมที่สังเกตด้วยภาพสีได้ดีกว่าด้วยการสังเกตจากภาพขาวดำ

กำลังแยกตามความละเอียดของเครื่องมือวัด (radiometric resolution) เป็นการระบุว่าเครื่องมือสามารถจำแนกโทนสีได้มากน้อยเพียงใด
ถ้ากำลังแยกต่ำ เราจะเห็นช่วงของระดับสีเป็นขั้นๆ ซึ่งหมายความว่าเราจะไม่สามารถแยกสิ่งที่ต้องการสังเกตได้หากมีการเปลี่ยนแปลงของสีระหว่างสิ่งต่างๆ ไม่มากพอ

กำลังแยกตามเวลาของระบบ (temporal resolution)
เป็นการระบุว่าระบบสำรวจ (ดาวเทียม) มีคาบในการกลับมาสำรวจ ณ บริเวณเดิมนานเท่าใด
ค่านี้จะขึ้นอยู่กับลักษณะของวงโคจรของดาวเทียม เช่นดาวเทียมโคจรกลับมาผ่านแนวเดิมทุก 18 วัน หมายความว่าดาวเทียมมี repeatation period เท่ากับ 18 วัน
เราจะสังเกตพฤติกรรมของปรากฏการณ์ที่มีระยะการเกิดถึงสิ้นสุดลงสั้นกว่าคาบการกลับมาดาวเทียมไม่ได้

 

 

Doppler’s effect  ปรากฏการณ์การเปลี่ยนความถี่ของคลื่น ถ้าผู้สังเกต ตัวสะท้อนคลื่น และตัวกลางของคลื่น มีความเร็วสัมพัทธ์ต่อกันเท่ากับศูนย์ (ทุกอย่างอยู่นิ่งกับที่) ความถี่ของคลื่นที่ออกจากแหล่งกำเนิด และความถี่ที่ผู้สังเกตวัดได้ จะมีค่าคงที่    แต่ถ้ามีการเคลื่อนที่ทำให้มีความเร็วสัมพัทธ์ต่อกัน ความถี่ที่ผู้สังเกตวัดได้จะต่างจากความถี่ของคลื่นที่ออกจากแหล่งกำเนิด  ความเร็วสัมพัทธ์ที่เกิดขึ้นสามารถคำนวณหาค่าได้จากค่าความถี่ที่เปลี่ยนไป (Doppler shift)   

 

ดาวเทียมสำรวจ

เราสามารถจำแนกดาวเทียมที่มีการใช้งานในส่วนของพลเรือน ออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

ดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร โดยมากเป็นดาวเทียมค้างฟ้าที่มีวงโคจรตามระนาบเส้นศูนย์สูตรของโลก (เช่น ดาวเทียมไทยคม) เป็นดาวเทียมที่มีเทคโนโลยีต่ำที่สุด โดยพื้นฐานจะเป็นดาวเทียมที่ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ทวนสัญญาณในช่วงคลื่นวิทยุ

ดาวเทียมเพื่องานอุตุนิยมวิทยา เป็นดาวเทียมที่อาจมีวงโคจรแบบดาวเทียมค้างฟ้า (เพื่อสังเกตการเคลื่อนที่ของมวลอากาศได้อย่างต่อเนื่อง) เช่น ดาวเทียม GMS หรือแบบระนาบวงโคจรเกือบผ่านแกนหมุนของโลก แต่มีระดับโคจรที่สูง เช่นดาวเทียม NOAA

ดาวเทียมที่ใช้ในการสำรวจและศึกษาธรรมชาติ เป็นดาวเทียมที่มีความซับซ้อนในเรื่องของวงโคจร และอุปกรณ์ในการสำรวจ ดาวเทียมเหล่านี้นอกจากส่วนของตัวยานดาวเทียม และส่วนสื่อสาร แล้วยังจะต้องมีส่วนของเครื่องมือสำรวจ โดยดาวเทียมแต่ละดวงจะมีอุปกรณ์แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของดาวเทียม

ตัวอย่างดาวเทียมสำรวจได้แก่

ดาวเทียม GMS

ดาวเทียม NOAA

ดาวเทียม Landsat

ดาวเทียม SPOT

ดาวเทียม RADARSAT

ดาวเทียม SEAWIFS

ดาวเทียม ERS

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรีโมทเซนซิง

เทคโนโลยีรีโมทเซนซิง ได้ก่อให้เกิดคุณประโยชน์ในการศึกษาสำรวจสภาพแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติอย่างกว้างขวาง ความสามารถในการบันทึก และสำรวจภาพข้อมูลได้เป็นบริเวณกว้าง ในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งบางพื้นที่อาจเข้าถึงได้ยาก หรืออาจเป็นอันตรายที่จะเดินทางเข้าไปสำรวจ เช่นในพื้นที่ที่เกิดไฟป่า ในป่าลึก กลางมหาสมุทร ก็สามารถใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีนี้มาช่วยได้อย่างมีประสิทธิผล

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรีโมทเซนซิงมีอยู่หลายด้าน โดยอาจจำแนกประเภทได้ดังนี้