บท5 การถ่ายทอดพันธุกรรมที่ไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดล
         (Non-Mendelian Inheritance and Introduction to heredity of Drosaphila melanogaste)

           [กิจกรรม] [วัตถุประสงค์] [บทนำ] [เนื้อหา] [การทดลอง] [เอกสารอ้างอิง]

       กิจกรรม
   - ศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมบางลักษณะที่ไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดล เช่น multiple alleles, epistasis, polygene ,inheritance relate to sex จากแผนภาพ และสื่อทางคอมพิวเตอร์
   - ศึกษาความรู้ทั่วไป การศึกษาทดลอง ลักษณะทางพันธุกรรมของแมลงหวี่ (D. melanogaster) จากวีดิทัศน์     โดย  ผศ. ดร. วรวุฒิ  จุฬาลักษณานุกูล
ทำการบ้านเรื่อง Multiple alleles Epistasis และ Sex inheritance

       วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม                                                             [บน]
         เมื่อศึกษาจบแล้วจะสามารถ
1. อธิบาย และยกตัวอย่างการเกิดการถ่ายทอดพันธุกรรมที่ไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดล
2. อธิบายสาเหตุของความแตกต่างของอัตราส่วนที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทอดพันธุกรรมที่ไม่เป็นไปตามกฎของเมนเดล

       บทนำ                                                                                                               [บน]
       การถ่ายทอดพันธุกรรมโดยศึกษาจากการแสดงออกของยีน ซึ่งไม่ได้เป็นแบบยีนเด่นข่มยีนด้อยอย่างสมบรูณ์ ทำให้ยีนด้อยมีการแสดงออกมาบ้างหากสิ่งมีชีวิตนั้นมียีโนไทป์เป็น heterozygote (Aa) นอกจากนั้นอาจเกิดจากยีนที่ควบคุมการแสดงออกของลักษณะหนึ่งมียีนควบคุมมากกว่า 1 คู่ ทำให้ลูกที่เกิดขึ้นในชั่ว F2 มีอัตราส่วนที่แตกต่างจากอัตราส่วนที่เคยศึกษามา    กล่าวคือ  ลักษณะเด่น  : ด้อย = 3: 1 (monohybrid cross)        หรือ  9 : : 3 : 3 : 1 (dihybrid cross) การที่ลูกชั่ว F2 มีอัตราส่วนที่แตกต่างไปจากเดิม  อันมีสาเหตุจากการแสดงออกของยีนแบบต่างๆ เช่น การข่มไม่สมบูรณ์ (Incomplete dominance) การแสดงออกของยีนเท่าเทียมกัน (Codominance)  มัลติเพิลอัลลีล (Multiple alleles) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีน (มียีน 2 คู่ ควบคุมลักษณะเดียวกันหรือ Gene interaction เช่น การเกิดลักษณะใหม่ของหงอนไก่ตัวผู้ เนื่องจากมียีน R และ ยีน P ที่ไม่เคยพบกันมาเข้าคู่กัน เช่น ลักษณะหงอนแบบ Walnut  ( R_P_ ) ในไก่ เรียกลักษะใหม่นี้ว่า Novel phenotype และ หรือเป็นผลมาจากยีนมีการข่มข้ามคู่ที่เรียกว่า Epistatis นอกจากนั้นอาจเนื่องจากการถ่ายทอดพันธุกรรมแบบทบรวม ซึ่งเกิดจากยีนที่ควบคุมลักษณะใดลักษณะหนึ่งตั้งแต่ 2 คู่ เรียกว่า Polygenic Inheritance  และ ยีนมรณะ (Lethal gene)   รวมทั้งการถ่ายทอดพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับเพศและโครโมโซมเพศ (Inheritance relate to sex and sex chromosome) ได้แก่ Sex-linked genes, Y-inheritance, Sex-influenced genes และ Sex limited genes) 
 

         เอกสารอ้างอิง                                                                              [บน]
   1. ชาญ อาภาสัตย์.  2523.  พันธุศาสตร์ ปฎิบัติการ.  ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
   2. สุมิตรา คงชื่นสิน.  2542. พันธุศาสตร์ประชากร ในเอกสารประกอบการอบรมครูชีววิทยาระดมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักสูตรที่ 1 (ภาคบรรยาย)  คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (หน้า 118-128)
   3. Eldon, D.E., et al. 1994.  Concept in Biology.  WCB Wm.C. Brown Publishers.
   4. Hartl, D.L. and Jones, E.W. 1999.  2nd.  Essential Genetics.  Jones and Bartlett Publishers. USA. 552 pp.