ความหมายของไม้

        ไม้ (wood) เป็นวัสดุก่อสร้างที่ใช้ในการสร้างที่อยู่อาศัย ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ วงกบประตูหน้าต่าง บานประตูหน้าต่าง แม่บันได ขั้นบันได พื้นในร่ม ใช้ทำเครื่องเรือน และเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ

ส่วนประกอบของไม้

        ไม้จัดเป็นอินทรีย์สารชนิดหนึ่ง ไม้ประกอบด้วย เปลือกเป็นส่วนนอกสุดประกอบด้วยเซลล์ที่ตายแล้ว

  1. กระพี้ ส่วนที่ถัดจากเปลือกเข้าไป จะมีสารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพืช ได้แก่ แป้ง น้ำตาล และโปรตีน ทำให้ไม้เกิดเชื้อราได้ง่ายและมอดชอบกิน
  2. แก่นไม้ ส่วนที่ถัดจากกระพี้
  3. ใจไม้ ใจกลางของไม้จะมีจุดหยุ่น ๆ

ประเภทของไม้

        ไม้แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท โดยถือเอาค่าความแข็งแรงในการดัดของไม้แห้ง และความทนทานตามธรรมชาติของไม้ชนิดนั้น ๆ เป็นเกณฑ์ได้แก่

  1. ไม้เนื้อแข็ง มีความแข็งแรงสูงกว่า 1000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีความทนทานสูงกว่า 6 ปี ได้แก่ ไม้เคี่ยม ไม้แอ๊ก ไม้หลุมพอ ไม้เสลา ไม้สักขี้ควาย ไม้เลียงมัน ไม้รัง ไม้ยมหิน ไม้มะค่าโมง ไม้มะเกลือเลือด ไม้ประดู่ ไม้เต็ง ไม้ตะบูนดำ ไม้ตะคร้อหนาม ไม้ตะคร้อไข่ ไม้แดง ไม้กันเกรา
  2. ไม้เนื้อแข็งปานกลาง มีความแข็งแรง 600 ถึง 1000 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีความทนทาน 6 ปี ได้แก่ ไม้เหียง ไม้รกฟ้า ไม้ยูง ไม้มะค่าแต้ ไม้พลวง ไม้นนทรี ไม้ตาเสือ ไม้ตะแบก ไม้ตะเคึยนหนู ไม้ตะเคียนทอง ไม้กว้าว
  3. ไม้เนื้ออ่อน มีความแข็งแรงต่ำกว่า 600 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีความทนทานต่ำกว่า 2 ปี ได้แก่ ไม้อินทนิล ไม้สัก ไม้ยางแดง ไม้พะยอม ไม้พญาไม้ ไม้ทำมัง ไม้ตะบูนขาว ไม้กะบาก ไม้กระเจา ไม้กวาด

ขนาดของไม้แปรรูป

        ไม้แปรรูปที่จำหน่ายภายในประเทศแบ่งออกเป็นชนิดและขนาดตามความนิยมในวงการค้าไม้และการก่อสร้างทั่ว ๆ ไปดังนี้

  1. ไม้ฝา ขนาดหนา 1/2 ถึง 3/4 นิ้ว กว้าง 4 ถึง 6 นิ้ว และ 8 ถึง 10 นิ้ว
  2. ไม้พื้นขนาดหนา 1 นิ้ว
  3. ไม้ หนา ขนาด 1 1/2 ถึง 2 นิ้ว และ 2 1/2 ถึง 3 นิ้ว กว้าง 3,4,5,6,8,10 และ 12 นิ้ว
  4. ไม้เสา ขนาดหนา 4 x 4 นิ้ว, 5 x 5 นิ้ว, และ 6 x 6 นิ้ว
  5. ไม้ระแนง ขนาดหนา 1 x 1 นิ้ว
  6. ไม้กลอน ขนาดหน่า 1/2 ถึง 3/4 นิ้ว x 2 ถึง 3 นิ้ว และ 1 ถึง 2 นิ้ว x 1 1/2 ถึง 2 นิ้ว

        ความยาวของไม้ทุกชนิดแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่

  1. 2.00 ถึง 2.50 เมตร
  2. 3.00 ถึง 5.50 เมตร
  3. 6.00 ถึง 7.50 เมตร
  4. 8.00 เมตรขึ้นไป

สาเหตุที่ทำให้ไม้ผุพังเสียหาย

        ความทนทานของไม้สามารถแบ่งออกตามสภาพแวดล้อมของสถานที่ได้ดังนี้

  1. ไม้ในร่ม จากปลวก
  2. ไม้กลางแจ้ง จากแดดและฝน
  3. ไม้ในที่ชื้นแฉะ จากตัวอ่อนของแมลงพวกเพรียงน้ำจืด
  4. ไม้ในน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม จากเพรียง หอยสองฝา กุ้ง ปู บางชนิด เข้าทำลายเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย

การปรับปรุงคุณภาพไม้

        เนื่องจากไม้ในปัจจุบันมีคุณภาพต่ำลง มีการหดตัว แตกร้าว หรือบิดงอง่าย ทำให้เกิดความเสียหายในสิ่งก่อสร้าง ครัวเรือนเครื่องใช้ไม้สอย โดยทั่ว ๆ ไป จึงต้องมีการปรับปรุงคุณภาพไม้เพื่อให้ไม้มีคุณภาพที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นการปรับปรุงทางด้านสี ความแข็งแรง การหดตัว การพองตัวและ ความทนทาน มีหลายวิธีได้แก่

  1. การกองไม้ เป็นการกองไม้ให้โปร่งไม่ชิดติดต่อกัน นอกจากจะทำให้ไม้แห้งเร็วแล้ว ยังป้องกันการเกิดเชื้อราที่ทำให้ไม้ผุได้เป็นอย่างดีด้วย ส่วนไม้ที่เป็นกระพี้หรือไม้ที่ไม่ทนทาน ในขณะที่แปรรูปสด ๆ แล้วกองไม้ชิดติดกันเพียงวันสองวัน ก็จะเกิดราขึ้นเต็ม อาจเสียหายถึงกับทำให้ไม้ใช้การไม่ได้ตลอดไป
  2. การแช่น้ำ การแช่น้ำเป็นระยะเวลานาน ๆ จะทำให้แป้งและน้ำตาลที่มีในไม้สลายตัวไป เมื่อนำไม้มาใช้งาน ถึงแม้จะมีกระพี้ติดอยู่ มอดก็จะไม่เข้ารบกวน
  3. การอบหรือนึ่ง จะทำให้สารประกอบทางเคมีบางประเภทซึ่งดูดและคายน้ำได้มากสลายตัวไป ทำให้การพองและการหดตัวของไม้ลดลง
  4. การอบหรือผึ่ง โดยการใส่ไม้ที่จะอบในเตาอบ ซึ่งสามารถทำให้ไม้แห้งได้เร็วไม่ทำให้ไม้เสียหายจากการหดตัว ส่วนการผึ่งในอากาศ ไม้จะแห้งเร็วหรือแห้งช้าขึ้นอยู่กับความชื้นในอากาศ ถ้าอากาศมีความชื้นต่ำ ไม้ก็แห้งเร็ว และถ้าอาคารมีความชื้นมากไม้ก็แห้งช้า
  5. การอัดไม้ด้วยความร้อน ทำให้ไม้มีปริมาตรเล็กลงและคงรูปได้ภายหลังการอัดและทำให้ไม้แข็งและทนทานขึ้น
  6. การอัดพลาสติก โดยการอัดสารที่เป็นพลาสติกเหลวเข้าไปในเนื้อไม้ แล้วทำให้มันรวมตัวจับกันเป็นเนื้อพลาสติก กลายเป็นของแข็งในภายหลัง อาจทำได้โดยอาศัยตัวเร่งทางเคมีหรือฉายรังสี
  7. การอบน้ำยา เป็นการทา ชุป แช่ หรืออัดน้ำยาเข้าไปในไม้ด้วยแรงอัดสูง ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการนำไม้เข้าห้องบปิดฝาจนสนิท ทำการดูดอากาศในไม้และในห้องอบออกจนหมด แล้วจึงปล่อยน้ำยาเข้าไป ขณะเดียวกันก็จะเพิ่มความกดดันของอากาศในท่อให้สูงขึ้นถึงระดับที่ต้องการ ทิ้งไว้ระยะหนึ่งแล้วจึงลดความดันลง ไม้ที่ทำการอาบน้ำยาแล้วจะมีความทนทานสูงกว่าไม้ธรรมชาติหลายเท่า


ไม้อัด

        เกิดจากการรวมไม้หลาย ๆ ชนิดเข้าด้วยกันหรือทำจากไม้ชนิดเดียวกัน โดยการตัดท่อนซุงให้มีความยาวตามที่ต้องการ แล้วกลึงปอกท่อนซุง หรือฝานให้ได้แผ่นไม้เป็นแผ่นบาง ๆ มีความหนาตั้งแต่ 1 ถึง 4 มิลลิเมตร แล้วนำมาอัดติดกันโดยใช้กาวเป็นตัวประสานโดยให้แต่ละแผ่นมีแนวเสี้ยน ตั้งฉากกัน แผ่นไม้จะถูกอบแห้งในเตาอบ ไม้อัดมีขนาด กว้าง 4 ฟุต ยาว 8 ฟุต หนา 4,6,8,10,15 และ 20 มิลลิเมตร

กระเบื้องแผ่นเรียบ

        ผลิตจากใยหิน (asbestos) และปูนซีเมนต์ มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม ผิวเรียบสม่ำเสมอ ทนต่อความร้อน ไม่ติดไฟ ไม่ผุ ไม่เปื่อยหรือยุ่ย
คงอยู่ในสภาพเดิมตลอดเวลา คงถาวรทนต่อแดดฝน น้ำหนักเบา ไม่เสียหายเมื่อถูกน้ำ กันปลวกและแมลงได้ เลื่อยเจาะ ตีตะปู และติดตั้งได้ง่าย ล้างทำความสะอาดได้

ชิปบอร์ด

        ผนังกั้นห้องชิปบอร์ดมีลักษณะเป็นแผ่นประกบไส้ 3 ชั้น ผิวหน้าเป็นไม้บาง ไส้กลางเป็นชิปบอร์ดหรือชิ้นไม้เล็กที่อัดกันแน่นประกบด้วยกาว เรซินสังเคาระห์ มีร่องรางลิ้นที่ขอบทั้งสองข้างตลอดความยาวของแผ่น ไม้บางที่ใช้ประกบผิวหน้าทั้งสองข้าง ส่วนใหญ่เป็นไม้สักหรือไม้ยางชิปบอร์ด มีคุณสมบัติไม่บิดงอย้อนกลับวัสดุเรียบแผ่นใหญ่

แผ่นยิปซัม

        ผลิตจากแร่ยิปซัมซึ่งเป็นแร่อโลหะชนิดหนึ่ง โดยการย่อยก้อนหินยิปซัมบริสุทธิ์ให้มีขนาดเม็ดเล็ก ๆ ประมาณ 2 ถึง 3 นิ้วแล้วนำมาย่อยอีกครั้ง จนเหลือเม็ดเล็กประมาณ 1/2 นิ้ว แล้วเข้าเตาเผาไล่น้ำออก เกิดปฏิกริยาเปลี่ยนสภาพเป็นปูนพลาสเตอร์หลังจากนั้นจะนำไปผสมกับสารเคมีและเยื่อ ต่าง ๆ เพื่อประกอบกันเข้าเป็นแผ่นยิปซัมที่มีคุณสมบัติทนไฟทนต่อความร้อนมีความยืดหยุ่น ปลอดภัยจากเชื้อราและแมลงแผ่นยิปซัมจะมีปูน พลาสเตอร์ เป็นแกนกลางประกบด้วยกระดาษกาวเหนียวทั้งสองด้านและในขั้นสุดท้ายแผ่นยิปซัมจะต้องผ่านการอบด้วยอุณหภูมิค่อนข้างสูงเพื่อให้แผ่น แห้งสนิท เหมาะที่จะใช้เป็นผนังกั้นห้องและเพดาน

แผ่นพลาสติก

        ทำจากโพลีสไตรีนหรือโพลียูริเทน มีความแข็งแรงต่อแรงอัดสูงและมีคุณสมบัติเป็นฉนวนได้ดี

แผ่นเซลโลกรีต

        แผ่นเซลโลกรีต มี 3 ชนิดได้แก่


ไม้อัดเคลือบลาย

        เป็นแผ่นไม้อัดและกระดาษอัดนำมาเคลือบลายโพลีด้วยเครื่องจักรมีสีสันและลวดลายให้เลือกทั้งชนิดมันเงาและชนิดผิวด้านเหมาะสำหรับ ตกแต่ง เฟอร์นิเจอร์ กั้นห้อง ทำฝ้าเพดาน

แผ่นสตามิต

         วัสดุแผ่นเรียบผลิตด้วยเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ มีส่วนประกอบสำคัญจากฟางและกาวชนิดพิเศษ นำมาอัดแน่นด้วยแรงอัดและความร้อน
พร้อมทั้งผ่านการหุ้มผิวจนเป็นวัสดุเนื้อเดียวกัน มีคุณสมบัติเป็นวัสดุทนไฟได้ดี ป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก เป็นฉนวน มีน้ำหนักเบา

ภาพแสดงการนำไม้มาใช้ประโยชน์เป็นเครื่องเรือน